ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย

Authors

  • อรวรรณ เลี้ยงสุขสันต์

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการบริหาร, การบริหาร, ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง, Motorways

Abstract

          การศึกษาผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยเป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed Method) ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย ในการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง คือ บุคลากรสังกัดกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จำนวน 384 คน จากการคำนวณด้วยสูตรของเครซี่และมอร์แกน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพทาการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุปัจจัย (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า          1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-34 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มอำนวยการจราจรและจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางที่มีอายุราชการต่ำกว่า 5 ปี         2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย จำนวน 6 ด้าน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ การนำองค์กร รองลงมา คือ การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การมุ่งเน้นระบบการปฏิบัติการ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ตามลำดับ        3) ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย พบว่า การมุ่งเน้นระบบการปฏิบัติการ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญกับผู้รับ บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการนำองค์กร ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ปัจจัยการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้านสามารถอธิบายผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยได้ร้อยละ 73.5 และเมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนายผลสัมฤทธิ์การบริหารงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยได้ดีที่สุดคือ การมุ่งเน้นระบบการปฏิบัติการ (ß= 0.393) รองลงมาคือ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (ß = 0.204) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ß = 0.147) และการนำองค์กร (ß = 0.134)        การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง ปัจจัยการบริหารจัดการ ค้นพบว่า การบริหารด้านการนำองค์กร ยังมีข้อจำกัดทางด้านความพร้อม ด้านกฎระเบียบ ด้านบุคลากร ส่วนการด้านการวางแผน กลยุทธ์ มีการกำหนดนโยบายและแผนที่ชัดเจนในระยะยาวถึง 20 ปี ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน เช่น สายด่วนกรมทางหลวง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา การบริหารงาน ส่วนด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีความพยายามพัฒนารูปแบบองค์ความรู้ที่ได้จากผู้เสนอแนะอย่างต่อเนื่อง ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การพัฒนาทักษะ การปฏิบัติงานของบุคคลยังต้องพัฒนาเพิ่มขึ้น ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ยังต้องพัฒนาในเป็นไปตามมาตรฐานสากล ส่วนเรื่องผลสัมฤทธิ์ ด้านประสิทธิผลยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก ด้านคุณภาพมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น ด้านประสิทธิภาพมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้านพัฒนาองค์กรมีการร่วมทุนกับเอกชนเน้นการปฏิบัติงานแบบมือ อาชีพคำนึงถึงความพึงพอใจของประชาชน ผู้รับบริการเป็นสำคัญ           A research on the Results Based Management of Inter-City Motorways Administration in Thailand was the study by Mixed Method between Qualitative and Quantitative research. It aimed to study on 1) the factors of Inter-City Motorways Management in Thailand and 2) to study Results Based Management of Inter-City Motorways 3) to study the factors of Inter-City Motorways Management influencing Results Based Management of Inter-City Motorways. The research samples were the personnel of Inter-City Motorways Division, Department of Highway For the qualitative research, the researcher used 30 key informants by using in-depth interview in collecting data. For quantitative research, the results of interview were analyzed using Descriptive Statistics and; Inferential Statistics such as Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis. It was found from the results as follows.           The factor of management that influenced on The Results Based Management of Inter-City Motorways Administration in Thailand, it was found that focusing on the operation system, strategic planning, pay attention to the service customers and stakeholders, leading organization had affected on The Results Based Management of Inter-City Motorways Administration in Thailand with the statistical significance at the level of .05. All four aspects of management factor together can explain the variation of The Results Based Management of Inter-City Motorways Administration in Thailand for 73.5 percent. When considering on the independent variables with the authority to best forecasting The Results Based Management of Inter-City Motorways Administration in Thailand which were focusing on the operation system (ß = 0.393), second by strategic planning (ß = 0.204), pay attention on service customers and stakeholders (ß =0.147) and leading organization (ß = 0.134).           The regression presented the variation of The Results Based Management of Inter-City Motorways Administration in Thailand was HMA = 0. 468 + 0. 393 FOS + 0.204PLA + 0.147IMP + 0.134ORG (FOS = operation system, PLA = Strategic Planning, IMP = Service customers and Stakeholders and ORG = Leading Organization)            For qualitative research, focus on Management Factors, it was found that Leading Organization still has limited in the field of readiness, regulations and personnel, Strategic Planning has a 20 years long term plan clearly, Service customers and Stakeholders has provide a hot line channel to listen to complaints and suggestions in order to adjust and develop ways to meet customers satisfaction, Measurement, analysis and knowledge Management has been developed continuously, personnel skills development has to be developed more and more, operations has to be up to universal standard. Result Based Management focusing on Effectiveness still has not yet meet the concrete level, Quality, Efficiency, Organization Development need to be developed obviously at the professional level as it has a joint investment with private sector thus services and customer satisfaction needs to be considered strictly.

Downloads