การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านจิตสาธารณะสำหรับพนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดสมุทรปราการ
Keywords:
ชุดฝึกอบรม, พุทธจิตวิทยา, พฤติกรรม, จริยธรรม, จิตสาธารณะAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะสำหรับพนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบลักษณะพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะของพนักงานที่เข้าอบรมด้วยชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยาระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรม 3) เปรียบเทียบลักษณะพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการใช้ชุดฝึกอบรม 4) ศึกษาความคงทนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง 30 วัน และ 5) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานกลุ่มทดลองที่มีต่อชุดฝึกอบรม ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประชุมสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาชุดฝึกอบรมฯ จำนวน 19 คน ประชากรในการวิจัยกึ่งทดลองเป็นพนักงาน จำนวน 80 คน สุ่มอย่างง่าย 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ ประเด็นคำถามในการประชุมสนทนากลุ่ม ชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยา แบบประเมินพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะได้ค่าความเชื่อมั่นโดย Cronbach’s Alpha เท่ากับ .๙๓ และแบบสอบถามความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการทดลองใช้ค่าสถิติค่าที (t-test) และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้หลักการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะที่บูรณาการไตรสิกขากับหลักการสำคัญของกระบวนการกลุ่มที่เน้นการมีส่วนร่วมทางกาย ทางอารมณ์ ทางความคิดและทางสังคม ภายใต้กระบวนการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ 5 ขั้นตอน และใช้กลยุทธ์การเสริมสร้างจิตสาธารณะที่สำคัญ ประกอบด้วย บรรยากาศ แหล่งเรียนรู้ ตัวแบบของผู้มีจิตสาธารณะ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของโลกและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดสาระสำคัญในการออกแบบกิจกรรม ชุดฝึกอบรมนี้ ประกอบด้วย 10 กิจกรรม ใช้เวลาการฝึกอบรม 49 ชั่วโมง รวม 5 วัน 2) พนักงานที่ได้รับการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พนักงานกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะสูงกว่าพนักงานกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) พนักงานกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะที่วัดทันที และวัดหลังการทดลอง 30 วัน ไม่แตกต่างกัน 5) พนักงานมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรมทั้งด้านเนื้อหาการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม ระยะเวลาและการบริการ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด This research has five objectives which are 1) to develop an Integrated Training Package Based on Buddhist Psychology for Reinforcing Moral Behaviors on Public Mind (MBPM) for employees of SMEs in Samut Prakan Province, 2) to compare the MBPM behavior of the experimental SME employees between, before, and after the training sessions, 3) to compare the MBPM between the experimental group versus the controlled group, 4) to study the sustainability of the experimental group after 30 days of training, and 5) to study the overall opinion from the SME employees in the Samut Prakan province toward the training package. This training package was earlier approved by 19 scholars in related fields using a focus group study. Later 40 samples of SME staffs were selected using a simple random method for sampling group out of the total population of 80 employees. Out of this 40 samples, 20 were randomized to be the experimental group, while another 20 became the controlled group. The research methodology used includes the series of question for focus groups, the integrated training package using Buddhist Psychology, the scale of MBPM reliability using Cronbach’s Alpha which is equivalent to 0.93, then followed by the quantitative questionnaire towards opinion about the training package. The research statistics were analyzed using mean score, standard deviation, t-test and percentage. The results show that 1) an Integrated Training Based on Buddhist Psychology and developed by the researchers, using the principles of MBPM that the integrated between the Threefold Training (Trisikkha) and principles of the group process focused on engaging the physical, emotional, cognitive, and social. Under the learning process of 5 operating procedure and strategy for Reinforcing MBPM contain important public resources, model of the person who acquires the public mind; including the global and environment change which determine the essence in designing the activity. This training package consists of 10 activities for the whole training, included 49 hours, for the total of 5 days, 2) the MBPM of SME employees has improved significantly after the training at 0.05 confident level, 3) the MBPM of the experimental group was significantly higher than the controlled group at 0.05 confident level, 4) after 30 days from the training, there was no change in MBPM level of the experimental employees in the follow-up test, and 5) SME employees confirm higher to highest positive opinion towards the training package in all aspects.Downloads
Issue
Section
Articles