พฤติกรรมการเล่นพนันชนไก่ของประชาชนในจังหวัดชลบุรี
Keywords:
พฤติกรรม, การเล่นพนัน, ทัศนคติ, การรับรู้, การควบคุมพฤติกรรม, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, ความปรารถนาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นพนันชนไก่ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเล่นการพนันของประชาชนในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเล่นพนันชนไก่ภาพรวม ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.73) โดยพฤติกรรมที่พบมากคือ มีพฤติกรรมต้องเพิ่มเงินเดิมพันพนันชนไก่เพื่อเพิ่มความตื่นเต้น มีพฤติกรรมเคยหยิบยืมเงินคนอื่นหรือจำนำจำนองของมีค่าของตนเพื่อให้ได้เงินไปเล่นพนันชนไก่และต้องหวนกลับไปเล่นพนันแก้มือเสมอ (ค่าเฉลี่ย =2.82, 2.73, 2.37) ตามลำดับ พบว่า มีพฤติกรรมเล่นพนันในอดีต เฉลี่ย 2.61 วัน/เดือน มีทัศนคติเชิงบวกต่อการพนันชนไก่ ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.25) มีการรับรู้ความ สามารถในการควบคุมตนเองระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =2.42) มีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.38) และมีความปรารถนาหรือแรงขับภายในตนเองให้เกิดความต้องการเล่นพนันระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.15) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบปกติ (MRA) พบว่า มี 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเล่นพนันชนไก่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ การรับรู้ความสามารถควบคุมขนาดอิทธิพล 0.247 รองลงมาคือ ความปรารถนา การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และทัศนคติต่อพฤติกรรมการเล่นพนันชนไก่ขนาดอิทธิพล 0.245, 0.223 และ 0.143 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยอายุและพฤติกรรมเล่นพนันในอดีต ไม่มีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมการเล่นพนัน ผลการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเล่นพนัน จากปัจจัยส่วนบุคคลทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ปัจจัยรายได้เพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรม โดยกลุ่มผู้มีการมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท และกลุ่มรายได้ 5,001-10,000 บาท มีพฤติกรรมเล่นพนันชนไก่น้อยกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงกว่า The purpose of this research was to investigate the factors affecting gambling behavior of people in Chonburi province. This study was quantitative approach with 400 case of samples. The questionnaire was utilized as research instrument. The data were analyzed by using the descriptive and inferential statistics. The research findings indicated that the cockfight gamblers committed cockfight gambling behavior in high level (average = 2.73). The common behaviors were mostly increasing a large stake in gambling tor increase excitement, borrowing money or pledge/mortgage their valuables to get money to gamble with the cockfight gambling, and always returning to gamble after losing with hope to get evenly (average =2.82, 2.73, 2.37, respectively). The gambling behavior in the past was average at 2.61 times per month. The positive attitudes on cockfight gambling has shown in high level (average =3.25). The perceived behavioral control was in middle level (average =2.42) The subject norms was in middle level, the average was average =2.38. The aspirations or internal drives for gambling desire were in high level (average =3.15). The results of multiple regression analysis (MRA) revealed 4 factors influencing the cockfight gambling behavior. The most influential factor was the perceived ability to control, by the effect size 0.247, followed by the desire for gambling, the subject norms, and the attitude towards cockfight gambling, by the effect size 0.245, 0.223 and 0.143, respectively. While the age factor and the gambling behavior in the past were not significant for gambling behavior. The analysis of the relationship between individual factors and the gambling behaviors showed that, among 5 individual factors; namely, age, marital status, education, occupation and income, the income was only one significant factor for gambling behavior. The lower income group with less than 5,000 baht and 5,001-10,000 baht had less gambling behavior than the higher income group.Downloads
Issue
Section
Articles