ภาวะผู้นำกับวัฒนธรรมองค์การของหน่วยงานราชการไทยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก

Authors

  • ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน

Keywords:

ภาวะผู้นำ, วัฒนธรรมองค์การ, ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ทั้งหน่วยงานส่วนภูมิภาคและหน่วยงานท้องถิ่น 2) ศึกษาแบบแผนวัฒนธรรมองค์การของหน่วยงานราชการ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำและแบบแผนวัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้น โดยเป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสาน ที่นำวิธีการวิจัยเชิงสำรวจมาใช้ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม จำนวน 330 ชุด ทำการเก็บจากกลุ่มตัวอย่างใน 8 หน่วยงาน แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม          ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยงานราชการที่ศึกษามีรูปแบบพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบมุ่งเน้นภายนอกมากที่สุด ได้แก่ การแสดงถึงพฤติกรรมด้านการสร้างเครือข่ายกับภาคส่วนต่างๆ และการเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์หน่วยงาน รองลงมาคือ พฤติกรรมภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน เนื่องจากผู้บริหารจะมีการวางแผนและติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ 2) แบบแผนวัฒนธรรมองค์การของหน่วยงานราชการที่ศึกษาเป็นแบบเน้นบทบาทมากที่สุด โดยมีลักษณะการยึดหลักความถูกต้องตามระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับสำหรับเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและสำหรับการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ พบว่า การที่หน่วยงานราชการมีผู้บริหารที่แสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบมุ่งภายนอกมีส่วนสำคัญต่อการมีวัฒนธรรมองค์การแบบเน้นความสำเร็จ เนื่องจากผู้บริหารต้องพยายามประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาช่วยให้โครงการหรือกิจกรรมบรรลุผลสำเร็จ ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะที่พฤติกรรมภาวะผู้นำแบบมุ่งงานมีส่วนในการเกิดวัฒนธรรมองค์การแบบเน้นบทบาท เนื่องจากบุคลากรต่างยึดถือบทบาทตามตำแหน่งงาน อำนาจหน้าที่ และขอบเขตของงานตามระเบียบ โดยมีผู้บริหารดำรงสถานะเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตำแหน่ง ภารกิจจึงเป็นไปตามกิจวัตรหรือตามที่กำหนดในแผนงาน ทั้งนี้ ผู้บริหารมีบทบาทในฐานะกลไกการฝังตรึงวัฒนธรรมผ่านบุคลิกลักษณะส่วนตัว การมอบหมายงาน วิธีการจูงใจและให้รางวัล ทำให้บุคลากรรับรู้และเรียนรู้จนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติและค่านิยม            This research is aimed to study 1) the leadership styles of Thai government agencies’ public administrators, including both regional organizations and local administrative organizations, in the Eastern seaboard region which consists of Chonburi, Rayong, Chantaburi and Trat; 2) the patterns of organizational culture of Thai government agencies; and 3) the relationship between leadership behaviors and the occurred patterns of organizational culture. The research design is the mixed-methodology which integrated survey method with qualitative method. The research instruments consist of 330 questionnaires to collect data from 8 sample groups, semi-structured interviews from 16 key informants and unparticipatory observation.            The research results show that 1) the sample government agencies most adopted the external leadership behaviors i.e. behavioral expression to build connection with other agencies or networking and to represent the organization. The second most-adopted behavior is task-oriented leadership since the public administrators regularly launch strategic plans and conduct follow-up assessment, 2) the most common pattern of organizational culture is role-oriented which values righteousness according to rules and regulations as the criteria for practice and interaction amongst members in the organization, 3) it is found that, with regard to the relationship between leadership and organizational culture, external leadership behaviors expressed by public administrators are significantly related to achievement organizational culture due to the fact that the public administrators must coordinate with other organizations in order to achieve the project or campaign goals as well as coping with possible difficulties. On the contrary, task-oriented leadership contributes to role-oriented organizational culture because the personnel rely on the roles according to positions, authorities and scope of responsibilities which generally accept public administrators as directors by position; as a consequence, the tasks are operated based on daily routine and strategic plans. Specifically, public administrators play a crucial role as a culture-embedding mechanism through personal characters, task distribution, motivation and incentive schemes that encourage learning and recognition amongst the personnel regarding common practice and organizational value.

Downloads