ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับที่แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตอบรับตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522

Authors

  • ประทีป ทับอัตตานนท์
  • จิดาภา พรยิ่ง

Keywords:

กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก, คดีลหุโทษ, กระบวนการพิจารณา

Abstract

          ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ต้องการให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมีระเบียบในการใช้ทางร่วมกัน โดยให้มีโทษทางอาญาเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้กระทำผิด ซึ่งถือเป็นความผิดที่รัฐบัญญัติว่าผิด (Mala Prohibita) แต่เนื่องจากโทษทางทางอาญาตามกฎหมายดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นความผิดลหุโทษที่มีแต่โทษปรับ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 ที่กำหนดให้โทษทางอาญาที่มีการเปรียบเทียบปรับแล้ว ให้คดีอาญาเลิกกันและมาตรา 39 (3) ได้บัญญัติรับว่าหากคดีอาญาเลิกกัน สิทธิในการนำคดีอาญาฟ้องให้ระงับไป ดังนั้น การดำเนินคดีตามความผิดอาญาที่มีแต่โทษปรับในกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นกระบวนการที่รวบรัด ที่รัฐไม่ประสงค์ให้คดีขึ้นสู่ศาล เว้นแต่ผู้กระทำความผิดไม่ยอมเสียค่าปรับ กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดในมาตรา 140 ว่า หากเจ้าพนักงานจราจรไม่พบผู้ขับขี่รถที่กระทำผิด ให้ผูกใบสั่ง หรือให้ส่งใบสั่งพร้อมพยานหลักฐานโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ โดยกฎหมายสันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้ขับขี่ตามมาตรา 141 วรรคห้าหากผู้นั้นได้รับใบสั่งโดยชอบแล้ว ก็อาจเลือกใช้ช่องทางในการเสียค่าปรับตามมาตรา 141 (1) (2) และ (3) แต่หากไม่เข้ามารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนและเสียค่าปรับ กฎหมายได้บัญญัติในมาตรา 141 ทวิให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้นั้นมาเพื่อตักเตือนและเสียค่าปรับ หรือให้เจ้าพนักงานกรมขนส่งทางบกงดรับชำระภาษีประจำปีนั้นสำหรับรถคันดังกล่าว รูปแบบการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวสร้างปัญหาให้แก่ผู้ปฏิบัติ ทั้งเมื่อความผิดนั้นได้กระทำผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปี ซึ่งเป็นการขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) ก็ไม่อาจบังคับใช้ได้ ทั้งมาตรา 155 ยังกำหนดเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งว่าหากผู้นั้นได้รับใบสั่งโดยชอบแล้วไม่เสียค่าปรับ ให้ลงโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท การบัญญัติกฎหมายในขั้นตอนดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าการจราจรทางบกที่มีแต่โทษปรับดังกล่าว ได้สร้างความวุ่นวายยุ่งยากให้แก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งไม่สอดคล้องกับทฤษฎีทางอาญาในเรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยการจำกัด (Limiting Principles) หลักอรรถประโยชน์ (Utilitarianism) ของซีซาร์ เบคคาเรียและหลักเกณฑ์ว่าด้วยความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (The Pragmatic Approach) เมื่อคำนึงถึงกระบวนการดำเนินคดีอาญาในส่วนนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาแบบรวบรัดแล้ว จึงควรแก้ไขกฎหมายในส่วนการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว โดยให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอัยการสั่งฟ้องโดยไม่ต้องมีตัวผู้กระทำผิด และให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีได้หลังจากได้ส่งหมายเรียกให้แก่ผู้นั้น และหากผู้นั้นไม่ปรากฏตัวในศาลก็ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิเสธ ให้ศาลมีคำพิพากษาตามรูปคดีไป โดยบังคับค่าปรับตามคำพิพากษานี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, มาตรา 29/1, มาตรา 30, มาตรา 30/1 และมาตรา 30/2 ทั้งควรยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติในลักษณะฟุ่มเฟือยและขัดกับหลักทฤษฎีทางอาญาเสีย และทั้งนี้ให้นำมาตรการทางปกครองมาบังคับใช้ โดยกำหนดการไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่งที่ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้เป็นเงื่อนไขในการไม่ต่อใบอนุญาตขับขี่และนำมาตรการทางปกครองในเรื่องบันทึกคะแนนในใบอนุญาตขับขี่แทนการสั่งงดรับการชำระภาษีประจำ            The legislative intent of the Land Traffic Act, B.E. 2522 (1979) is to require people using vehicles and roadways to conform to rules and regulations by which criminal penalty is to be used to control wrongdoers. This wrongdoing is considered as mala prohibita. However, most criminal penalties according to what are stipulated in this Act are only petty offences punishable only with fine. Furthermore, it is also stated in Section 37 of the Criminal Procedure Code that criminal cases may be settled in the case that the alleged offender paying the fine as fixed. In addition, it is also stated in Section 39 (3) that by settlement of the offence in accordance with Section 37, the right to institute a criminal prosecution is extinguished. Consequently, the procedure of criminal cases punishable only with fine as mentioned in the Criminal Procedure Code is shortened because the state does not want the cases being brought to the court except the offender refuses to pay the fine. Also, Section 140 of the Land and Traffic Act states that upon finding a traffic violation in the event of the driver is nowhere to be found, a written order shall be left on the vehicle or sent by registered mail with acknowledgement form to the domicile of the owner or possessor of the car with regard to a lawsuit that this person is the driver (Paragraph 5 in Section 141). In case that this person has rightfully received the written order, he may choose to pay the fine by any means as stipulated in Section 141 (1) (2) and (3) of the Land and Traffic Act. In case the offender refuses to report to the inquiry officer or to pay the fine, under this Act in Section 141 bis. , the inquiry officer shall issue a summon for verbal warnings and paying the fine or request the officers of the Department of Land Transportation to deny accepting of annual tax payment of the said car. The enforcement under this Act always creates problems for the enforcers. However, the law enforcement cannot be applied in case the offence has been committed exceeding one year, of which the prescription shall be precluded according to Section 95 (5) of the Criminal Code. Moreover, Section 155 states that any person who refuses to pay the fine after having rightfully received the written order shall be liable to commit another offence punishable with the fine not exceeding one thousand Baht. According, it is obvious that the provision in the procedure of enforcement to offenders of the law relating to land traffic has not only created difficulties to both the people and the enforcers but is also irrelevant to criminal theories concerning Cesare Beccaria’s Limiting Principles and Utilitarianism and the pragmatic approach. Upon consideration of criminal procedure in the above mentioned part which is regarded as summary proceeding, the amendment of the provisions of Land Traffic Act should be done in order to allow the inquiry officer to deliver the file of the case to the public prosecutor to institute a case without the offender. The Court then can deliver judgment after having sent a summon to the offender. In case the offender does not show up which can be considered as denial, the Court is able to give the sentence appropriate to the case according to Sections 29, 29/1, 30, 30/1, and 30/2 of the Criminal Code by which enforcement of judgment can be done, Finally, the legislation of provisions with redundancy and inconsistency with criminal theory principles should be cancelled.          Instead, government measures should be brought for enforcement by stipulating conditions. The condition of refusing to pay for the fine should be fixed as the condition for renewal of the driving license. Furthermore, administrative measures concerning mark deduction of the driving license should replace denying acceptance of annual tax payment of the offended car.

Downloads