มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ กรณีฉ้อโกงผู้สูงอายุ ศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายไทยและสหรัฐอเมริกา

Authors

  • รัชนี แตงอ่อน
  • จิรวัธ ศิริศักดิ์สมบูรณ์

Keywords:

การคุ้มครองสิทธิผู้สุงอายุ, ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ, การฉ้อโกงผู้สูงอายุ

Abstract

          บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ กรณี ฉ้อโกงผู้สูงอายุ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาความหมายของคำว่า ผู้สูงอายุ  ความรุนแรงที่กระทำต่อผู้สูงอายุ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงผู้สูงอายุ รวมทั้งกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงผู้สูงอายุในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้  กฎหมายอาญาเรื่องฉ้อโกงผู้สูงอายุ และการแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบจากผู้สูงอายุ จนได้บทสรุปและ ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในประเทศไทย          จากการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา พบว่า ทั้งสองประเทศต่าง รับรองความคุ้มครองสิทธิ การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุซึ่งเป็นไปตามหลักการสากลขององค์การ สหประชาชาติหลายประการ กรณีประเทศไทยกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้สูงอายุพึงมีตามหลักรัฐธรรมนูญ และ ปฏิญญาผู้สูงอายุ การให้ความหมายของคำว่า “ผู้สูงอายุ” เหมือนกันคือ ใช้เกณฑ์อายุตามปฏิทิน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำหนดอายุของผู้สูงอายุไว้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ส่วนกฎหมายอาญาของมลรัฐแคลิฟอร์เนียกำหนดอายุของผู้สูงอายุไว้ที่ อายุ 65 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกับกฎหมายอาญาของมลรัฐฟลอริด้า การกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิดกรณีเป็นการทารุณกรรมผู้สูงอายุของกฎหมายสหรัฐอเมริกามีความเฉพาะเจาะจง และคุ้มครองพิเศษมากกว่าประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยไม่ให้ความคุ้มครองพิเศษกับผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุ * โดยหลายมาตราให้ความคุ้มครองไว้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ส่วนกรณีการฉ้อโกงทรัพย์สินของผู้สูงอายุถือเป็นการแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติกฎหมายที่ชื่อว่า Elder Abuse Prevention and Prosecution Act (เรียกย่อว่า EAPPA) ขึ้นในปี ค.ศ. 2017 เพื่อป้องกันและ ปราบปรามผู้กระทำความผิดที่มุ่งจะกระทำต่อเหยื่อที่เป็นผู้สูงอายุ นอกจากนี้การฉ้อโกงผู้สูงอายุตามกฎหมาย อาญาของมลรัฐแคลิฟอร์เนียและมลรัฐฟลอริด้ากำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ว่าการกระทำในลักษณะใดเป็นการฉ้อโกงและการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมายที่กระทำต่อ ผู้สูงอายุ เช่น การระบุถึงลักษณะของการกระทำฉ้อโกงและการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต่อผู้สูงอายุ ผู้กระทำความผิดที่แบ่งประเภททั้งผู้ดูแลตามกฎหมายเป็นบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่ผู้สูงอายุ ให้ความไว้วางใจทางธุรกิจ รวมถึงบทลงโทษจำคุกทางอาญาหรือปรับตามความเสียหายทางทรัพย์สินที่ผู้สูงอายุสูญเสียไปทั้งมีบทลงโทษหนักขึ้นด้วย เป็นต้น          ผู้วิจัยได้บทสรุปและข้อเสนอแนะ ดังนี้ การกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุกรณีการฉ้อโกงในประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมประเภทนี้ แต่กฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้บัญญัติคุ้มครองเป็นพิเศษ ดังนั้น กรณีการฉ้อโกงผู้สูงอายุในประเทศไทยควรต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดบทลงโทษกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ดูแลและบุคคลภายนอกครอบครัวที่มุ่งจะแสวงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายที่กระทำต่อผู้สูงอายุ เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายอาญากรณีฉ้อโกงผู้สูงอายุ โดยควรเพิ่มนิยามคำว่าผู้สูงอายุใน มาตรา 1 เพิ่มเติมมาตรา 342/1 และแก้ไขเพิ่มเติมคำว่าผู้สูงอายุ มาตรา 346 รวมถึงเพิ่มเติมความหมายคำว่า การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประกาศกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุน การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง และการให้คำแนะนำปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาครอบครัวตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและป้องกันปัญหาการตีความกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองป้องกันสิทธิตามกฎหมายและตามหลักกฎหมายสากลที่เหมาะสมและเป็นธรรม            This research paper is aimed to study legal measures on elder abuse in the context of elder fraud by conducting a comparative study of Thai and American law. The study includes the definition of elder, elder abuse, concepts, theories concerning elder fraud and relevant Thai and American laws in order to analyze the problems of criminal law enforcement on elder fraud and wrongful exploitation of the elder, reach a conclusion and suggest amending the criminal law and the laws relating to the elderly in Thailand.          According to relevant laws in Thailand and the United States, it is found that both countries endorse the protection, promotion and support of the elderly in accordance with the international principles of the United Nations. In Thailand, the elderly’s basic rights are determined according to the Constitution and the Declaration of the Elderly, the definition of “elderly” in Thailand is set at the age of 60 which is based on the age criteria according to the Act on the Elderly, B.E. 2546. On the other hand, according to criminal law in California and Florida, the definition of “elderly” is set at the age of 65. The criminal liability of elder-abuse offenders in the United States law is more specific and provides higher protection than Thailand’s. Thai Criminal Code and its provisions provide protection in general; however, there is no special protection for elderly victims. Elder financial fraud is considered as unlawful exploitation; therefore, the federal government of the United States enacted Elder Abuse Prevention and Prosecution Act (EAPPA) in 2017 in order to prevent and suppress fraud against the elderly. The acts which are deemed to be elder financial fraud and wrongful exploitation of the elderly under the criminal laws of California and Florida have been clearly and specifically defined. For instance, the laws identify the nature of fraud and wrongful exploitation against the elderly, the offenders are classified as legal caregivers who are family members or others whom the elderly trust in business term, criminal penalties and heavier penalties in terms of imprisonment or fines for any property damage that the elderly have lost, etc.          In conclusion, the United States of America provides law regarding elder fraud with special protection for the elderly who are victims while there is still no provision that provides any special protection for the elderly in Thailand. Therefore, Thai criminal law and other related laws regarding fraud should be revised by determining penalties for the offender who is a caretaker but not a family member that seeks unlawful benefits from the elderly. Since Thailand is encountering aging society, it is suggested that Thai criminal law should be amended by adding the definition of the elderly in Section 1, adding Section 342/1 and the term of the elderly in Section 346. In addition, the term “illegal exploitation” pursuant to the announcement of the Ministry of Social Development and Human Rights in accordance with the Act on the Elderly, B.E. 2546 should be added for clarity and prevention of legal misinterpretation. Moreover, the elderly shall be protected in accordance with protection of personal rights, the Constitution of the Kingdom of Thailand as well as international law.

Downloads