บทบาทพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

Authors

  • ณัฏฐพงศ์ สุวรรณพาณิชย์
  • ธวัชชัย สุวรรณพานิช
  • ลาวัลย์ หอนพรัตน์

Keywords:

คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ, พนักงานอัยการ, การดำเนินคดี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาทพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ 2) ศึกษาบทบาทพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศไทยและต่างประเทศ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและแนวทางแก้ไขปัญหาของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ          เป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากตำรากฎหมาย พระราชบัญญัติ บทความ วารสารทางวิชาการ ระเบียบข้อบังคับ เพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) โดยสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลเป็นสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ผู้พิพากษาพนักงานอัยการผู้ฟ้องคดีต่อศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และทนายความ          ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีความสำคัญมากในขั้นตอนการรับสำนวนการไต่สวน และสำนวนการสอบสวน รวมทั้งการพิจารณาสำนวนก่อนมีคำสั่งใด ๆ รวมทั้งการประชุมร่วมในการพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ และก่อนที่จะดำเนินการฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาล แต่เมื่อได้ดำเนินการฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลแล้วบทบาทของพนักงานอัยการจะลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินคดีในศาลอาญาทั่วไป เพราะการพิจารณาคดีในศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบใช้ระบบไต่สวน บทบาทของพนักงานอัยการจะไม่เหมือนกับการดำเนินคดีอาญาทั่วไปที่ใช้ระบบกล่าวหาบทบาทของพนักงานอัยการจะมีน้อยมาก เนื่องจากศาลเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง เมื่อศาลแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง ศาลจึงไม่สามารถยกเหตุแห่งความสงสัยขึ้นเพื่อยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย          ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินคดี จึงควรที่จะแก้กฎหมายให้พนักงานอัยการเข้าร่วมไต่สวนกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่เริ่มพบการกระทำความผิด(ภัทรษวรรณ ชะนะมา, 2554, หน้า 16-28) กระบวนการไต่สวนในศาลควรเปิดโอกาสให้พนักงานอัยการได้ซักถามพยานได้อย่างเต็มที่ หรือมิฉะนั้น ควรใช้ระบบไต่สวนอย่างเต็มที่แบบระบบการไต่สวนของประเทศฝรั่งเศส            The objectives of this Independent Study are (1) to study the principle and theory of the prosecutor’s role in proceeding corruption and malfeasance cases, (2) to compare the role of the prosecutor’s role in proceeding corruption and malfeasance cases in Thailand with foreign countries, and (3) to study on how to develop more efficient proceeding of corruption and malfeasance cases and more suitable prosecutor’s role.          This is a qualitative, documentary study with collection and analysis of related legal text books, acts, laws, regulations and articles, and with in-depth interview of judges, lawyers and prosecutors who proceeded corruption and malfeasance cases to court.          It is found that in proceeding corruption and malfeasance cases, a prosecutor has a lot of roles in the process of investigation, inquiry and consideration of the court files of cases before any order is issued. The prosecutor also takes part in the meeting to examine incomplete issues before bringing a case to court to prosecute against the accused person. But after the case has been brought to court, the prosecutor has limited role in comparison with general criminal cases. For corruption and malfeasance cases, the court’s consideration is based mainly on the court’s own inquiry and facts finding in which the prosecutor is limitedly involved; whereas, for general criminal cases, the court’s consideration is based on accusation. It is therefore recommended to amend the law to authorize the prosecutor to join the investigation and inquiry process with the Office of National Anti-Corruption from the beginning when a corruption or malfeasance case starts to be detected. The prosecutor should be authorized to fully participate in the inquiry in court, and the French investigation system is also recommended to be applied in Thailand.

Downloads