ความไว้วางใจในหัวหน้างานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ เจเนอเรชั่นวาย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง

Authors

  • ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา

Keywords:

ความไว้วางใจ, หัวหน้างาน, ความยึดมั่นผูกพันในงาน, เจเนอเรชั่นวาย, กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์, จังหวัดระยอง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความไว้วางใจในหัวหน้างาน และระดับความยึดมั่นผูกพันในงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความไว้วางใจในหัวหน้างานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันในงาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานระดับปฏิบัติการเจเนอเรชั่นวาย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของความไว้วางใจในหัวหน้างาน ได้เท่ากับ0.852 คำนวณหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.455-0.881 คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของความยึดมั่นผูกพันในงานได้เท่ากับ 0.899 คำนวณหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.615-0.997 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า          1. ระดับความไว้วางใจในหัวหน้างานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจเนอเรชั่นวายกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.07) สำหรับระดับความยึดมั่นผูกพันใน งานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจเนอเรชั่นวาย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความกระตือรือร้น ด้านความรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และด้านความเต็มใจอุทิศตนให้กับงาน ตามลำดับ          2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความไว้วางใจในหัวหน้างานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจเนอเรชั่นวาย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.522 – 0.596โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.778 ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) พบว่า หัวหน้างานเป็นคนเปิดกว้างและตรงไปตรงมา (X4) หัวหน้างานมีความยุติธรรมในการบริหารงาน (X1) หัวหน้างานเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจและตั้งใจทำงาน (X3) และหัวหน้าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการและสามารถคาดการณ์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ (X2) มีอำนาจในการพยากรณ์รวมเท่ากับ ร้อยละ 60.6           สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ          Y = 15.234 + 0.161X4 + 0.192X1 + 0.144X3 + 0.092X2           สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน          Zr = 0.278Z4 + 0.382Z1 + 0.247Z3 + 0.168Z2            The objectives of this research were to 1) study the level of trust in supervisors and the level of employee engagement 2) study the relationship between trust in supervisors factors that influence to employee engagement 3) develop the forecast equation of employee engagement. The sample was 338 of generation Y operational staffs in automotive industry in Rayong. The research tool was a questionnaire. The reliability of the trust in supervisors was 0.852 and the discrimination ranged from 0.455 to 0.881. The reliability of the employee engagement was 0.899 and the discrimination ranged from 0.615 to 0.997. The statistical analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The results were as followed;          1. For overall, the level of trust in supervisors of generation Y operational staffs in automotive industry in Rayong was in high level (average = 4.07) and employee engagement was also in high level (average = 4.05). When considered by aspect, there were in high level in all aspects which could be sorted in order as follows: vigor aspect, absorption aspect, and dedication aspect, respectively.          2. The relationship of trust in supervisors factors that influence the employee engagement of generation Y operational staffs in automotive industry in Rayong was in moderate level, which the correlation coefficients between 0.522-0.596, with statistical significance at the level of 0.05. The multiple correlation coefficient (R) was 0.778. The coefficient of determination (R2) showed that executives were open-minded and straightforward (X4), executives were equitable management (X1), executives had ability to motivate and determination (X3), and executives were professional management and able to predict in various situations (X2). The predictive power was at 60.6%.           The forecast equation of unstandardized scores:           Y = 15.234 + 0.161X4 + 0.192X1 + 0.144X3 + 0.092X2           The forecast equation of standardized scores:           Zr = 0.278Z4 + 0.382Z1 + 0.247Z3 + 0.168Z2

Downloads