เศรษฐกิจการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในภาคใต้

Authors

  • ภาสกร ธรรมโชติ
  • อารีรัตน์ ทศดี
  • เจษฎา รัตนวุฒิ

Keywords:

เป็ดไล่ทุ่ง, ความเสี่ยง, การปรับตัว

Abstract

          บทความวิจัยเรื่องเศรษฐกิจการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เศรษฐกิจการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งซึ่งครอบคลุมการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งลักษณะการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง (2) ศึกษาปัจจัยเสี่ยงและรูปแบบการปรับตัวต่อปัจจัยเสี่ยงของเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งโดยการวิจัยเป็นแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบความน่าจะเป็นโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา จำนวน 124 ครัวเรือน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาพื้นฐานและสถิติเชิงอ้างอิงและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อยผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ศึกษาจำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ความเสี่ยงหลักที่เกิดขึ้นทางเกษตรกรรมของการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเป็นความเสี่ยงทางด้านการผลิตปัจจัยเสี่ยงหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งและรูปแบบการปรับตัว ประกอบด้วย (1) การลดลงของพื้นที่นาและแหล่งน้ำ (2) ที่นาขาดความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ในส่วนของรูปแบบการปรับตัวไม่หลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวระยะสั้น            This study focused on current production situations and risks i n Thai traditional agriculture by selecting free grazing duck farming in southern Thailand as a case study. The objectives of this study were (1) to study the free-grazing duck farming economy which covers socio-economic status, production and cost and benefits analysis of free-grazing duck farming (2) to assess risks and free grazing duck farmers’ adaption methods which help mitigate or alleviate risks in free-grazing duck farming in Southern Thailand. This study applied a mixed method approach to examine free grazing duck farming economy in southern Thailand. The study surveyed data from 124 free-grazing duck farmers in three provinces which were Nakorn Sri Thammarat, Phattalung and Songkhla Provinces. The in-depth interviews and focus group with 12 free-grazing duck farmers and stakeholders in free-grazing duck farming were conducted to assess risks and identify adaptation methods which help mitigate or alleviate risks in free-grazing duck farming.          This study found that overall production risk was major risk infree-grazing duck farming. Limitation of rice field and availability of free-grazing duck’s food in the rice fields were two major threats in free-grazing duck farming. Finally, the adaptation methods were limited and mostly were short turn adaptation methods.

Downloads