รูปแบบการใช้กฎหมายของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Keywords:
รูปแบบการใช้กฎหมาย, ร้องเรียน, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐAbstract
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการใช้กฎหมายของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการใช้กฎหมายของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อศึกษารูปแบบการใช้กฎหมายที่พึงประสงค์ของบุคลากรมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิจัยเทคนิคเดลฟายและการสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเลือกเฉพาะเจาะจงที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จำนวน 20 คน และกลุ่ม ตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 6 คน เลือกเฉพาะเจาะจงที่ฟ้องหรือกำลังฟ้องคดีกับมหาวิทยาลัยในกำกับ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อบุคลากรของรัฐด้านอาจารย์และพนักงานฝ่ายสนับสนุน เมื่อมีปัญหากับคณะผู้บริหาร และต้องการใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีรูปแบบการใช้ 5 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ร้องคณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์ของมหาวิทยาลัยแล้วยื่นฟ้องศาลปกครองหรือ ศาลยุติธรรม (คดีแพ่ง คดีอาญา) รูปแบบที่ 2 ร้องทุกข์ต่อตำรวจในท้องที่หรือกองบังคับการปราบปรามแล้วส่งคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเพื่อฟ้องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบหรือศาลยุติธรรมหรือ ศาลปกครอง รูปแบบที่ 3 ร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมหรือร้องคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้วส่งฟ้อง ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมหรือศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ รูปแบบที่ 4 ร้องเรียนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ร้องเรียนคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร้องกระทรวงศึกษาธิการ ฟ้องศาลปกครอง รูปแบบที่ 5 สำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการ (พิเศษ) ฝ่ายคดีปกครอง ดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนการฟ้องคดี (กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์) The purposes of this study were to investigate the effectiveness of model, process and practice of law and regulation of government-run autonomous university officials and to study their desirable law practice model. The study was qualitative research using delphi technique and in-depth interview. The sample was purposively selected from a panel of 20 legal experts and in-depth interviews were conducted to 6 university officials selected purposively from the university officials who brought charge or were bringing charge against the university. The research found that when university officials had a problem with themanagement team, there were five effective and efficient models to make a complaint. Model 1: Make a complaint to the Board of the University and then file a lawsuit with the Administrative Court or the Court of Justice. (Civil cases, criminal cases) Model 2: Make a complaint to the local police or the Crime Division and the complaint is sent to the Corruption Prevention and Fighting Commission in the public sector, the National Counter Corruption Commission, the Office of the Auditor General to file a lawsuit to the Criminal Court for fraud and misconduct, or the Court of Justice or the Administrative Court. Model 3: make a complaint to the Center of Justice or the National Peace Corps, and then file a lawsuit to the Administrative Court or the Court of Justice or the Criminal Court for fraud and misconduct. Model 4: make a complaint to Civil Service Commission in Higher Education Institutions, or Ministry of Education, or make a lawsuit to Administrative Court Model 5: Make a complaint to rights and Liberties Protection Department Office, Ministry of Justice or Department of Administrative Litigation for negotiating before the lawsuit (reconciliation process)Downloads
Issue
Section
Articles