การจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

Authors

  • สวรรค์นิมิต เตชาวงศ์
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร
  • สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
  • จีระ ประทีป

Keywords:

แรงงานต่างด้าว, การจัดการความมั่นคง, ภาคอุตสาหกรรม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการ  กฎหมาย ในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และเพื่อ ศึกษาการดำเนินการ ปัญหา ข้อจำกัด และเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย รูปแบบการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1. การวิจัยเอกสาร และ 2. การสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ โดยเลือกกลุ่มตัวย่างแบบเจาะจง ได้แก่ สำนักจัดหางานจังหวัดชลบุรี, เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง, บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี, เจ้าหน้าตำรวจสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี, ประธานสภา อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี, นักวิชาการด้านแรงงาน, ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี, ลูกจ้างแรงงาน ต่างด้าว จำนวน 14 ราย การวิเคราะห์ข้อมูล จะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาเอกสาร วิธีการวิเคราะห์ คือ พรรณนาข้อมูลและวิเคราะห์ตีความข้อมูลเพื่อสร้างข้อสรุป เกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ          ผลการวิจัยพบว่า 1. หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคง ด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้นมีสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว, กรมการจัดหางาน, กระทรวงแรงงานดำเนินการเป็นหลัก 2. กฎหมายที่ใช้ในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าว ไร้ฝีมือ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย พบว่า มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลักอยู่ 6 ฉบับ 3. ปัญหาที่สำคัญของการ จัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าว ได้แก่ 1) ด้านความมั่นคง คือ ปัญหาด้านนโยบายแรงงานแรงงาน ต่างด้าวมีลักษณะระยะสั้นแบบปีต่อปี ไม่ชัดเจน ไร้ทิศทาง ไม่แน่นอน การขาดการประสานงาน และบูรณา การร่วมกันระหว่างหน่วยงาน รวมถึงความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่ 2) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า ระเบียบในการขออนุญาตทำงาน และการต่อใบอนุญาตทำงานนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อน ไม่สะดวก ต่อผู้ว่าจ้าง และตัวแรงงานต่างด้าว 3) ปัญหาด้านสังคม/ สาธารณสุข พบว่า มีปัญหาชุมชนแออัดอัน ปัญหา ความแตกต่างทางด้านภาษา วัฒนธรรม และ 4) ด้านสิทธิมนุษยชน มีปัญหาด้านการค้ามนุษย์ และการเข้าถึงการบริการภาครัฐขั้นพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว และ 4. แนวทางในการพัฒนาการจัดการความมั่นคง ด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีดังนี้ 1) ด้านความมั่นคงควรมีการเสริมอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณให้เหมาะสมกับงานด้านความมั่นคง การปรับปรุงกฎหมายให้มีความชัดเจน และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงการเพิ่มบทลงโทษให้มีความรุนแรงมากขึ้น 2) ด้านเศรษฐกิจ ควรแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการใช้แรงงาน อาทิ ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน การลาหยุด ฯลฯ ลดการใช้แรงงานต่างด้าวในภาคธุรกิจ ปรับปรุงระเบียบการปฏิบัติให้สะดวกต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว และพิจารณาปรับลดค่าดำเนินการในการขึ้นทะเบียนหรือต่ออนุญาตในกลุ่มธุรกิจที่มีความขาดแคลนแรงงาน 3) ด้านสังคม/ สาธารณสุข ควรกำหนดให้นายจ้างควรเป็นผู้ให้การช่วยเหลือลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ทุกกรณี อาทิ การจัดหาที่อยู่อาศัย สถานพยาบาล รวมถึงสาธารณูปโภคให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโรคติดต่อของแรงงานต่างด้าวที่ เข้ามาทำงานในประเทศ และรัฐบาลควรมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับภาษา และวัฒนธรรมไทยให้แก่แรงงานต่างด้าวก่อนเข้าทำงาน โดยให้นายจ้าง หรือแรงงานต่างด้าวเป็นผู้รับภาระค่าฝึกอบรมแล้ว แต่สัญญาจ้าง และ 4) ด้านสิทธิมนุษยชนรัฐบาลควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของแรงงานต่างด้าว ให้ชัดเจนมากขึ้น ให้แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา สาธารณูปโภค ฯลฯ เพิ่มบทลงโทษในฐานความผิดเกี่ยวกับเรื่องค้ามนุษย์ และควรมีการคุ้มครองผู้เสียหาย และพยานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการค้ามนุษย์            This research uses descriptive research method with qualitative approach and focus on three purposes. Firstly, it analyzes the stakeholders of government office who involve in Security management of unskilled foreign workers in industrial sector of Thailand. Secondly, it analyzes problems and limitations to management policy. And thirdly, it proposes suggestive models management of Security management of unskilled foreign workers in industrial sector of Thailand. The research outcome shows that firstly, the man government office who has authority to management policy is the foreign Administrative office, department of employment, Ministry of labor .Secondly it shows 6 laws related to management policy. And thirdly, 4 importance limitations issue to management policy are 1) the policy foreign workers are short-term, year-to-year, unclear, lack of direction, lack of coordination and integration between agencies and not transparency in staff work. 2) Regulation on work permit is complicated not convenient for the employer and foreign workers. 3) The impact to social safety and security from crowed foreign workers and difference cultures. 4) Human right impact, there are trafficking and corruption issue.

Downloads