การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐของสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

Authors

  • กฤดา กฤติยาโชติปกรณ์
  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

Keywords:

การบริหารจัดการ, การร่วมลงทุน, กิจการของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ, แนวคิดการบริหาร, การจัดการที่ยั่งยืน

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการให้ เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจตามแนวคิดการบริหาร จัดการที่ยั่งยืน 2) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน และ 3) ยุทธศาสตร์ ของแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐของสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ได้นำแนวคิดการบริหารจัดการ ที่ยั่งยืน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยี ส่วนรวม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตมาปรับใช้ เป็นกรอบแนวคิดของการศึกษาครั้งนี้          ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้น การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล แบบสอบถามนั้นได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.90 และผ่านการหาค่า ความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.98 ประชากร คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,125 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั้งหมดดังกล่าว การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 935 ชุด คิดเป็นร้อยละ 83.11 ของ ประชากรทั้งหมด 1,125 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์ เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนว์บอลล์ และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ทีละคน ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง          ผลการศึกษาปรากฏว่า 1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐใน ทิศทางที่คำนึงถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศเพียงพอหรือไม่ 2) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการ ที่สำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจควรประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐในทิศทางที่คำนึงถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และสนับสนุน ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย และ 3) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจควรกำหนดและนำยุทธศาสตร์ ของแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐตามแนวคิด การบริหารจัดการที่ยั่งยืนไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน และการนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความ เจริญก้าวหน้า เทคโนโลยี ส่วนรวม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต            Objectives of this study were to study (1) problems of administration of Public-Private Partnerships Promotion of the State Enterprise Policy Office according to the Sustainable Administration Concept, (2) improvement guidelines of administration of Public-Private Partnerships Promotion of the State Enterprise Policy Office according to the Sustainable Administration Concept, and (3) strategies of administration of Public-Private Partnerships Promotion of the State Enterprise Policy Office according to the Sustainable Administration Concept. The Sustainable Administration Concept of 5 aspects: Progress, Technology, Public, Environment, and Quality of life was applied as conceptual framework of this study.          Methodology of this research was designed the research design as mixed methods research applying quantitative research as a principal and qualitative research as a supplementary. The quantitative research was survey research collecting large amount of field data with questionnaires. The questionnaires passed try out of validity check at level of 0.90 and reliability check at level of 0.98. Population was all 1,125 persons participated in the Projects of Public-Private Partnerships of the State Enterprise Policy Office in Bangkok Metropolis area. Sampling size was all the population. Field data collection was operated during October 1-31, 2018, and total 935 completed sets of questionnaire which equaled to 83.11 of the 1,125 total population were returned. Data analysis was performed in contingency table with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were percentage, mean, and standard deviation. For qualitative data, in-depth interview of 9 experts, selected by the Snowball Sampling Concept with face to face interview, one by one, of at least 60 minutes each and structured in-depth interview form, was also applied.          Findings of this research were (1) the major problem of administration was the State Enterprise Policy Office’ s insufficient coordination with the other organizations for the Public-Private Partnerships Promotion regarding the progress of the country, (2) the major improvement guidelines of administration were the State Enterprise Policy Office should increasingly coordinate with the other organizations for the Public-Private Partnerships Promotion regarding the progress of the country as well as funding, and (3) the State Enterprise Policy Office should establish and apply the strategy of administration of Public- Private Partnerships Promotion according to the Sustainable Administration Concept as the Key Performance Indicators and practical implementation. The strategy should consist of 5 aspects, in priority, as follows: Progress, Technology, Public, Quality of life, and Environment.

Downloads