การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลใน เขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Authors

  • รัชตา คำเสมานันทน์

Keywords:

การมีส่วนร่วม, ความเป็นพลเมือง, กรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนา, ประชาธิปไตยตำบล

Abstract

          การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเป็นพลเมือง และระดับการมีส่วนร่วมของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล 2) เปรียบเทียบของความเป็นพลเมืองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นพลเมืองกับการมีส่วนร่วมของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง และ 5) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในเขตภาคเหนือของประเทศไทย การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลจำนวน 346 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krecjcie & Morgan เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการถดถอยแบบพหุคูณเชิงเส้นตรง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารหรือผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมเป็นพลเมือง รวมทั้งสิ้น 11 คน ใช้วิธีเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเป็นพลเมือง และระดับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโดยรวม อยู่ในระดับมาก ในขณะที่กรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่างกัน มีระดับความเป็นพลเมืองโดยรวมแตกต่างกัน ความเป็นพลเมืองโดยรวมกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในระดับสูงมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ 0.81 (R = 0.81) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง มีจำนวน 6 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยการกำหนดกิจกรรม ปัจจัยภายในบุคคล ปัจจัยการกำหนดเวลาที่แน่ชัดปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบ ปัจจัยที่มาจากทางราชการ และปัจจัยการเปิดโอกาสในการเข้าร่วม ส่วนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้กับกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย แนวทางส่งเสริมความเป็นพลเมืองใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ทางการเมืองและประชาธิปไตย ด้านความเข้าใจในความเป็นพลเมือง ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรม ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบาย ด้านความชัดเจนของนโยบาย และด้านความเพียงพอของทรัพยากรในการดำเนินงาน           The research of Participation in Citizenship Promotion of the District Democracy Promotion Center’s Committee in Upper Northern, Thailand was a mixed method research which aimed to 1) study the citizenship and participation level of the committee in Upper Northern, Thailand, 2) compare the committee’s citizenship level defined by personal factors, 3) the relations between the committee’s participation and citizenship 4) factors affecting the committee’s participation in citizenship promotion and 5) pattern development of the committee’s citizenship promotion of the District Democracy Promotion Center’s Committee in Upper Northern, Thailand. The quantitative research, Samples were committee of the district democracy promotion center in Upper Northern, Thailand, totally 346 samples, obtain through Krecjcie & Morgan sample table. The data was collected by a questionnaire with the reliability value of 0.99 and analyzed by using; Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson’s Correlation, One-way ANOVA and Multiple Linear Regression. The qualitative research, Informants were Administrators and representatives of the province election commission department in Upper Northern, Thailand and participation experts, totally 11 informants. The information was collected by an interviewing form and the content analyzed method was implemented. The research findings found that the committee’s citizenship and participation in citizenship promotion level in overall were found in high level. The committee’s citizenship level comparison defined by personal factors in overall found that committee with different gender education and occupa tion had statically difference citizenship level. The relations between the committee’s participation and citizenship found that the committee’s citizenship and participation in citizenship promotion had very high level relations with correlation coefficient of 0.81 (R = 0.81). Factors statistically affected the committee’s participation in citizenship promotion were found in 6 factors which were; Activity factor, Person Internal factor, Timing factor, Component factor, Government factor and Participation Opportunity factor. The pattern development of the committee’s citizenship promotion was consisted of citizenship promotion solution in 6 aspects which were; Political and democracy knowledge aspect, Citizenship comprehension aspect, Moral and ethical aspect, Policy participation aspect, Policy clearness aspect and Sufficientoperation resources aspect.

Downloads