การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords:
การบริหารจัดการ, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงAbstract
การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม ได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.892 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.88 ประชากร คือ ประชาชนทั้งหมดที่อยู่ในเขตพื้นที่การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 5 จังหวัด ได้แก่ (1) ภูเก็ต (2) พังงา (3) กระบี่ (4) ตรัง และ (5) ระนอง รวมจำนวน 1,793,242 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีจำนวน 1,111 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณเพื่อหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนบอล ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันใช้งบประมาณในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ใช้ในการเพิ่ม ขยาย หรือกระจาย เส้นทางคมนาคมขนส่งไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม หรือใช้น้อยเกินไป (2) แนวทางการพัฒนาการ บริหารจัดการที่สำคัญคือ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันควรบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเรื่อง การเพิ่ม ขยาย หรือกระจายเส้นทางคมนาคมขนส่งไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยขอความร่วมมือจากเครือข่าย เช่น ภาคประชาชน กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนักลงทุน และนักพัฒนาเอกชน พร้อมทั้งควรประชาสัมพันธ์ หรือชี้แจงให้ประชาชนทราบและเข้าใจเรื่องดังกล่าวโดยผ่านเครือข่าย หรือการสื่อสารของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันด้วย The research methodology of this study was the integrated research model, focusing on quantitative research and using qualitative research as supplementary information. The questionnaire was used as a tool to collect data. The questionnaire was tested for validity. The population was the total population in the tourist areas of the Andaman’s five Southern provinces: (1) Phuket, (2) Phang Nga, (3) Krabi, (4) Trang and (5) Ranong totaling 1,793,242 people. The total sample size was 1,111 people, calculated by using the Taro Yamane formula. It is an analysis in table form including descriptive analysis. The statistics used to analyses data were mean, standard deviation, multiple regression and Pearson’s correlation coefficient. For the quantitative research, in-depth-interviews of 10 experts or key informants, sampled by the Snowball sampling concept was applied. The results of the study revealed that (1) the provinces in the Southern Andaman coastal region use the budget to manage tourism, for example, to increase or diversify transportation routes to inappropriate destinations. (2) Management development approach is important. The Southern provinces of the Andaman Coastal region should manage to promote tourism in terms of expanding or distributing transportation routes to various tourist destinations by seeking cooperation from networks, such as the public sector, investment groups and private developers and should promote or clarify to the public and understand it through the network.Downloads
Issue
Section
Articles