การสะสมทุนของเครือธุรกิจครอบครัว และความขัดแย้งในการพัฒนาอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก : กรณีศึกษา บริษัท ทีพีไอ จำกัด (มหาชน)
Keywords:
การสะสมทุน, ธุรกิจครอบครัว, ความขัดแย้ง, พัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกAbstract
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ การสะสมทุนของธุรกิจครอบครัวความขัดแย้งและปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในการสะสมทุน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง กรณีศึกษาบริษัททีพีไอ จำกัด (มหาชน) วิธีวิทยาในการศึกษาจะใช้วิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์การรวบรวมข้อมูลหลากหลายรูปแบบเชิงประสมประสาน เช่น การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ในการสะสมทุนครอบครัวตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ แบ่งออกเป็น สามช่วง ช่วงการสะสม ทุนของธุรกิจครอบครัว พ.ศ. 2459 – 2502 ช่วงการสะสมทุนโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2503 – 2536 ช่วงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พ.ศ. 2537 – 2545 โดยเริ่มทำการค้าแบบซื้อมาและขายไป การบริหารจัดการแบบกงสี ต่อมาได้มีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มทุนที่มีอำนาจ ได้รับโอกาสช่วยเหลือจากกลุ่ม ทุนดังกล่าว จึงมีการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยทุนจากการค้ามาเป็นทุนอุตสาหกรรมและทุนการเงิน ทั้งนี้ ในการขยายทุนอุตสาหกรรมได้กู้เงินมาลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาพัฒนาอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีซึ่งเป็นรายแรกของประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่จังหวัดระยอง ในขณะที่มีการขยายกิจการ การก่อสร้างและกระบวนการผลิตทำให้เกิดมลพิษทางเสียง อากาศและน้ำขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชนในชุมชนรอบโรงงานอุตสาหกรรมทีพีไอ ต่อมาเกิดวิกฤติทางการเงินปี 2540 ในประเทศไทย ทีพีไอต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูและเกิดความขัดแย้งในการแย่งอำนาจการบริหารแผนฟื้นฟูระหว่าง กลุ่มทุนข้ามชาติ (เจ้าหนี้) กับเจ้าของกิจการเดิมและกลุ่มทุนรัฐวิสาหกิจ จนสุดท้ายกลุ่มทุนรัฐวิสาหกิจเข้ามา บริหารแผนและยังเกิดความขัดแย้งอีกระหว่างผู้บริหารแผนกับเจ้าของกิจการเดิมและสหภาพแรงงานทีพีไอ มีการฟ้องร้องกันไปมาหลายคดี จนในที่สุดได้เจรจากันตกลงกันได้ ความขัดแย้งต่าง ๆ สิ้นสุดไปผู้วิจัยพบว่าในการสะสมทุนธุรกิจครอบครัวตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ที่ประสบผลสำเร็จได้นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น การบริหารจัดการที่เป็นสากลใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และทั่วโลกยอมรับ ต้องบริหารจัดการให้เกิดการหมุนเวียน ของทุนให้ครบทั้งสามทุน ประกอบไปด้วยทุนการค้า ทุนการเงิน และทุนอุตสาหกรรม โดยมี Techno structure ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้และความสามารถในด้านต่าง ๆ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีอำนาจเป็นเกราะป้องกันและสนับสนุน ทั้งนี้ต้องมีงบประมาณเพียงพอในการลงทุน โดยกู้ยืมเงินจากแหล่งเงิน ทุนอื่น ๆ และในการลงทุนทางโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีผลกระทบในด้านมลพิษชีวอนามัยสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ส่วนปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาโดยการเจรจาและแบ่งปันผลประโยชน์ให้เท่าเทียมกันจึงยุติความขัดแย้งได้ The aim of this research is to study the development of the capital accumulation in family businesses, the conflict and factors causing conflicts in capital accumulation as well as effects from conflicts. The case study will be focused on TPI Public Company Limited. The methodology used in the research will focus on the historical qualitative research and gathering of information in different concise forms for example research papers, interviews and participation. From the study, it is found that the capital accumulation of the “Laewphairat” family is separated into three phases including; the family business capital accumulation during the period 1916-1959, the industrial capital accumulation in 1960-1993 and the development of petrochemical industry in 1994-2002. Starting off as a buy-sell business and administer as a family management system, the company has continued to have exceptional relationship with powerful investors and have received help and collaboration from the mentioned investors. This allow the firm to expand the business by relying on capital gained from retail to support as industrial and financial funds. In the expansion of the industrial funds, domestic and international loans are used to develop the petrochemical industry. Transforming the firm to being the first and largest in Thailand and the Southeast Asian region. Located in Rayong province, during the expansion of the firm, construction and the production processes have caused pollutions through noise, air and water; creating conflicts with people living in the surrounding areas of the TPI industry estate. With the subsequent financial crises in 1997 in Thailand, TPI needs to enter rehabilitation plan which triggers conflicts between international investors (creditor) and original owner together with state enterprise investors to gain power in managing the rehabilitation plan. The power of managing the plan have fallen on the state enterprise investors, but still causes conflict with the managing of the rehabilitation plan between the original owner and TPI Labor Union. During that time, several lawsuits were executed, but negotiations were made and many conflicts ended. The researcher has found out the success in the accumulating capital processes of the “Laewphairat” family, significant factors such as international management systems, using modern technology and is acceptable globally, managing the flow in three types of capital includes trade capital, financial capital and industrial capital. Alongside Techno Structure; with experts with knowledge and ability to manage in various fields, good relationship with those in power acts as a shield and support. However, there must a sufficient investing funds from loans from different sources. Industrial investment causes occupational health pollution and the environmental pollution, while solutions to issues involving conflicts provoked are negotiation and sharing of equal benefits.Downloads
Issue
Section
Articles