การจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา

Authors

  • จุฬาลักษณ์ พันธัง

Keywords:

การจัดการ, ความปลอดภัย, การท่องเที่ยว

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว ที่มีประสิทธิผลสำหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา โดยการดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีการแบบเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ใช้เครื่องมือแนวคำถามการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ในกลุ่มผู้บริหารจำนวน 18 คน ผลศึกษา พบว่า รูปแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลสำหรับเขตพื้นที่ เมืองพัทยา มี 4 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 ด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัย มาตรการที่ 2 ด้านการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเมื่อประสบปัญหาด้านความปลอดภัย มาตรการที่ 3 ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และมาตรการที่ 4 ด้านการปราบปราม สำหรับแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการ ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่มีประสิทธิผลสำหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา มีดังนี้ 1. บริหารอัตรากำลังให้เหมาะสม 2. ผู้บริหารให้ความสำคัญ สนับสนุน ส่งเสริมผลักดันให้เกิดการปฏิบัติงานในเชิงนามธรรม 3. จัดฝึกอบรม และประเมินผลบุคลากร 4. บริหารงบประมาณที่มีมีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ 5. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานโดยพิจารณาเรื่องสำคัญและเร่งด่วนลำดับแรก 6. สร้างความรู้ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้เกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และการดำเนินงานในการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขต พื้นที่เมืองพัทยาในหน่วยงานของตน 7. บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน 8. ปรับปรุงแก้ไข ข้อจำกัดด้านกฎหมาย 9. ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนและภาคประชาชน และ 10. ติดตามและประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง            A Study aimed to examine the model and guidelines for Tourism Safety Management in Pattaya City Area. The qualitative research employed in-depth questions as the research instrument for in-depth interviews in collecting data from 18 key informants of top management group. The findings showed that the model and guidelines for effective Tourism Safety Management in the area Pattaya City arranged under four measures: 1) safety surveillance, 2) assisting provision in case of emergency, 3) public relation for safety instruction, and 4) suppression and protection. Finally, the effective management guidelines of tourism in the Pattaya area were as follows: 1) managing the existing manpower appropriately, 2) the executives or the heads of the organization’s proper supports of the abstract implementation. 3) training and evaluation of personnel. 4) proper management of existing budgets, 5) purchasing safety equipment according to its needs and importance, 6) introducing a thorough understanding of policies, plans and operations in managing tourism safety in the Pattaya to all of their respective agencies, 7) integrating inter-agency operation and cooperation. 8) revising legal restrictions, 9) promoting public and private sectors with public relations, and 10) monitoring and assessing ongoing operation.

Downloads