เครื่องมือเชิงนโยบายกับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ บนเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Authors

  • ณัฐวจี เขียวลือ

Keywords:

นโยบาย, เกษตรอินทรีย์, เครื่องมือเชิงนโยบาย, เกาะพะงัน, ชุมชนนิยม

Abstract

          บทความชิ้นนี้กล่าวถึงเครื่องมือเชิงนโยบายของรัฐและท้องถิ่นในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยต้องการวิเคราะห์สาเหตุของความไม่ประสบผลสำเร็จในการส่งเสริม เกษตรอินทรีย์บนพื้นที่เกาะพะงันที่ผ่านมา รวมถึงเสนอแนะแนวทางเพื่อการส่งเสริมที่ยั่งยืน โดยผู้ให้ข้อมูล สำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เกษตรกรและผู้ประกอบการบนพื้นที่เกาะพะงัน โดยใช้เครื่องมือเชิงนโยบายสาธารณะ Sticks, Carrots และ Sermons ร่วมกับแนวคิด Communitarianism เป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งพบว่าวิธีการของภาครัฐที่ผ่านมามีลักษณะของการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เป็นหลัก โดยไม่ได้มีการใช้เครื่องมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและหลักชุมชนนิยมร่วมด้วย ความไม่สมบูรณ์ของการ ใช้เครื่องมือเชิงนโยบายนี้อาจมีส่วนทำให้การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์บนเกาะพะงันไม่ประสบผลสำเร็จ จึงควรเริ่มจากการให้เกษตรกรดำเนินการจัดการภายในด้วยตัวเองควบคู่ไปกับการจัดโครงการอบรมให้ความรู้หลังจากเกษตรกรรวมกลุ่มเข้มแข็งแล้ว จึงให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตและทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อเป็นการดึงดูดเกษตรกรรายใหม่ให้หันมาสนใจการทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ท้ายที่สุดคือ การใช้กฎหมายควบคุมมาตรฐานสินค้าและสภาพแวดล้อมบนเกาะให้เอื้ออำนวยกับการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์            This article concerning the policy instruments used by the stat e and the local government for the organic agriculture promotion in Koh Phangan, Surat Thani aims to analyze the causes of the government’s failures to promote the organic agriculture in the past and suggest the solutions for the sustainable promotion. The key informants for this research are provincial and local government officers, farmers and entrepreneurs in Koh Phangan. Using Sticks, Carrots, Sermons and Communitarianism policy instruments as a research framework, the researcher found that the government’s method was only the provision of training without using any law enforcement or community-based tools. The incompleteness of using the policy instruments may contribute to the unsuccessful promotion. Therefore, initially, the farmers should manage their own organic group. Meanwhile, the government arranges the training program to educate the farmers about the organic agriculture. When the farmers group together stably, the government should provide subsidies and resources to attract more farmers to organic farming. Finally, the government should use law instruments to control the standard of the products and to control the environment on the island to facilitate the organic agriculture.

Downloads