แนวทางการยกระดับความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

Authors

  • ณัฐกริช เปาอินทร์

Keywords:

แนวทาง, รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, ตัวชี้วัด, E-government

Abstract

          งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อกำหนดตัวชี้วัดระดับความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศไทย (2) เพื่อทราบถึงระดับความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเมื่อพิจารณาตามตัวแปรชี้วัดที่กำหนดในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการยกระดับความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิเคราะห์ทดสอบตัวชี้วัดด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการโครงสร้างตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square Structural Equation Modeling: PLS-SEM) และใช้ซอฟแวร์ Smart PLS เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ด้วยวิธีแบบสองขั้นตอน (Two step approach to modeling) ขณะที่การศึกษาระดับความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยใช้วิธีการเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสาร          ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้คือ ตัวชี้วัดความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จำแนกออกได้เป็น 2 มิติคือ มิติกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และมิติของคุณภาพของความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอิทธิพล พบว่า ตัวชี้วัดภายในมิติกระบวนการสามารถอธิบายความผันแปรเชิงบวกในมิติคุณภาพได้มากถึงร้อยละ 94.9 และมีค่าผลกระทบของเส้นทางอิทธิพลขนาดใหญ่ (f2 = 1.471) เมื่อพิจารณาในบริบทของประเทศไทยภายใต้กรอบตัวชี้วัดทั้ง 2 มิติ พบว่า การขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยใช้ระยะเวลาค่อนข้างมากซึ่งส่งผลให้คุณภาพของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นอย่างล่าช้า การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยอุดมไปด้วยนโยบาย การส่งเสริมและสนับสนุนเฉพาะจุด เช่น การพัฒนาบุคลากร การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ยังไม่ปรากฏการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมิติอื่น ๆ ที่ครอบคลุมและต่อเนื่องทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้คือ ภาครัฐควรดำเนินการยกระดับความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการมุ่งเน้นกลไกในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ประกอบไปด้วย หนึ่ง นโยบายการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สอง โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาม การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สี่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การของภาครัฐ ห้า ประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยทั่วไปของภาครัฐ และหก ความปลอดภัยทางไซเบอร์การพัฒนาเหล่านี้จะช่วยให้การยกระดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด           Objectives of this research included (1) to appropriately generate variables as indicators in level of e-government for development of Thailand (2) to perceive level of e-government of Thailand regarding to indicator generated by the first objective and (3) to recommend the approaches to the development of e-government for Thailand. Methods employed in this research were mixed-methods. In regard to quantitative methods, Partial Least Square – Structural Equation Modeling (PLS-SEM) was employed and Smart PLS was the software to processing two step approach to modeling. Whereas, to analyzing level of e-government of Thailand was employed via documentary research as qualitative method.          This research found that the variables indicating a status of e-government were divided into two dimensions: (1) the mechanism of driving the e-government development and (2) the quality of e-government. The result found that the mechanism could explain the positive variation in quality of e-government up to 94.9 percent with large effect size (f2 = 1.471). In the context of Thailand, this study found that the drive for the Thai e-government had taken quite a long time, which had caused the quality of the e-government to slow down. Thailand's e-government was rich in policies, and specific promotion as well as support, such as human resource development and public relations. However, there is no concrete development of e-Government in other comprehensive aspects. This research suggested that the government should proceed to upgrade the e-government level by focusing on the mechanism to drive the e-government to cover various aspects, including (1) developing e-government policy, (2) improving ICT infrastructure, (3) promoting of e-government, (4) transforming organizational culture, (5) improving government effectiveness, and (6) enhancing cyber security. These developments will leverage the development of e-government quality.

Downloads

Published

2021-04-20