แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน

Authors

  • กิจอุดม เสือเจริญ
  • รัชยา ภักดีจิตต์

Keywords:

การพัฒนาการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เมืองเก่า, จังหวัดน่าน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าน่านโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนา วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และ การสังเกตการณ์สภาพความเป็นจริงในพื้นที่ย่านเมืองเก่าจังหวัดน่าน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจพฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสถิติเชิงพรรณา และระยะที่ 3 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยพบว่า ภูมิทัศน์ในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่านมีอัตลักษณ์ที่สวยงามมีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ มีคุณค่า ที่ยังคงอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนจังหวัดน่าน และมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งอดีต การศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน อยู่ในระดับมาก (ด้านศักยภาพในการดึงดูดใจ ค่าเฉลี่ย = 4.266, ด้านการรองรับ ค่าเฉลี่ย = 4.248, ศักยภาพด้านการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ย = 4.365) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน มีดังนี้ 1) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน 2) การดำเนินการ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการทำงานร่วมกันจากทุกฝ่าย 3) แนวทางในการจัดการภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ในการพัฒนาพื้นที่ ในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน 4) แนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คือ 5) แนวทางในการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี วัฒนธรรม และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ และสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้ความรู้และเข้าใจศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 6) แนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว และการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 7) แนวทางในการรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกเรื่องสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตเมืองเก่าจังหวัดน่านให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว           The objective of this research are to 1) study tourist behavior in cultural tourism site in the old town, NAN Province, 2) study the level of satisfaction of tourists toward the old town site in NAN Province and 3) purpose an approach for cultural tourism development site in old town, NAN Province by busing community participative process.          This research and development study are using both quantitative and qualitative methods. This research include 3 Phase: Phase 1 documentary research and observation the old town area, NAN Province. Phase 2 quantitative research, to survey tourist behavior and the level of satisfaction toward the old town, NAN Province and descriptive statistics analysis Phase 3 qualitative research, In-depth interview key informants and data analysis with content analysis technique.          The result show that the landscape and architecture of old town are beautiful, identity and antique. The level of tourist’s satisfaction toward the potential of cultural tourism are high level (the attraction average = 4.266, the support average = 4.248, management average = 4.365). Approach for cultural tourism development of the old town, site in NAN province are 1) setting cultural tourism development strategy and collaborate with public, private and civil society. 2) strategic cultural tourism development to implement collaborate with all sector. 3) approach for landscape, architecture management of the old town area. 4) approach for the promotion of cultural tourism attraction. 5) approach for the containable cultural and ritual by busing community participative process. 6) approach for the environmental conservation and pollution problem solving by using community participative process. 7) approach for safety and accommodate utilities for the tourist.

Downloads

Published

2021-04-20