การบริหารจัดการการให้บริการเครื่องใช้ในการดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ชลธิชา เดชทองคำ
  • สัมพันธ์ พลภักดิ์

Keywords:

การบริหารจัดการ, การให้บริการ, การดับเพลิงแบบเคลื่อนที่, เทศบาล, จังหวัดปทุมธานี

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การให้บริการเครื่องใช้ในการดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการให้บริการเครื่องใช้ในการดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี และ 3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการให้บริการเครื่องใช้ในการดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้าน มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยของการศึกษาครั้งนี้          ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริมการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจากประชากรเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.95 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.83 ประชากร คือ ประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมือง 9 แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 410,181 ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,109 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 1 สิงหาคม 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จานวน 881 ชุด/ คน คิดเป็นร้อยละ 79.44 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,109 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะบุคคล และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว คนละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง          ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ เทศบาลในจังหวัดปทุมธานีให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการให้บริการเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ไม่มากเท่าที่ควร รวมทั้งให้บริการเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ที่ครอบคลุมและทั่วถึงไม่เพียงพอ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ เทศบาลในจังหวัดปทุมธานีควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการให้บริการเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนแก่ประชาชนพร้อมทั้งให้บริการอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการประสบความสำเร็จที่สำคัญ คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องในการสนับสนุนการให้บริการเครื่องดับเพลิง รวมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียง            Objectives of this study were to explore (1) situation problems of serviceadministration of mobile fire extinguishers of municipalities in Pathum Thani Province, (2) development guidelines of service administration of mobile fire extinguishers of municipalities in Pathum Thani Province, and (3) factors effecting the success development guidelines of service administration of mobile fire extinguishers of municipalities in Pathum Thani Province. The Sufficiency Economy Philosophy of 5 aspects was applied as conceptual framework of this study.          Methodology of this research was designed the research design as mixed methods research applying quantitative research as a principal and qualitative research as a supplementary. The quantitative research was survey research collecting large field data with questionnaires. The questionnaires passed try out of validity check at level of 0.95 and reliability check at level of 0.83. Population was all 410,181 residential people in the area of 9 Town Municipalities in Pathum Thani Province. Total of 1,109 samples were calculated by using Taro Yamane’s formula. Field data collection was conducted during June1-August1, 2018, and total 881 completed sets of questionnaire equal to 79.44% of the 1,109 total samples were returned. Data analysis was represented in contingency table with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were percentage, mean, and standard deviation. For qualitative data, in-depth interview of 9 experts, selected by the Purposive Sampling Method with face to face interview of at least 60 minute each and structured in-depth interview form, was also applied.          Findings of this research were (1) the major problem were the municipalities in Pathum Thani Province' s paying less attention on the services administration of mobile fire extinguishers including insufficient comprehensive and thorough publicity services of mobile fire extinguishers, (2) the major improvement guidelines of administration were the municipalities in Pathum Thani Province should concentrate on the services administration of mobile fire extinguishers for people and should increasingly provide comprehensive, thorough publicity, equal services, and (3) the major factors effecting the success development guidelines were the Government' s explicit and continuous policy on supporting the services of mobile fire extinguishers as well as subsidizing sufficient budget to the municipalities in Pathum Thani Province.

Downloads

Published

2021-04-20