การศึกษาหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย

Authors

  • ชัยวุฒิ เขมะรังสี

Keywords:

หลักธรรมภิบาล, สหกรณ์ออมทรัพย์, Good governance

Abstract

          การวิจัยการศึกษาหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล งานวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (methodology) โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In -depth interview) กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สหกรณ์ ออมทรัพย์ภาคราชการ และสหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 19 ตัวอย่าง ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้          1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า สหกรณ์มีกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างการบริหางานและการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบอย่างชัดเจน จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกอย่างเหมาะสม มีระบบการควบคุมภายและตรวจสอบ มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารแก่สมาชิกกรรมการ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึง รับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิกพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงานและติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของสหกรณ์ มีการพัฒนาคุณภาพกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องหลักความเสมอภาคในการให้บริการและการทำงาน รวมทั้งการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศมีความมั่นคง ปลอดภัย และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สหกรณ์บางส่วนยังขาดการพัฒนาและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม         2. แนวทางการพัฒนาการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ควรมีการกำหนดแนวทางการพัฒนา ดังนี้            2.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการและเสริมสร้างธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม            2.2 กำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ตามหลักธรรมาภิบาล            2.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล            2.4 พัฒนาระบบด้านการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเหมาะสม            2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของสหกรณ์          ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า สหกรณ์จะต้องเพิ่มบทบาทและขีดความสามารถเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสหกรณ์ และเป็นที่ยอมรับแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการนำแนวทางการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการของสหกรณ์ที่ดี มาปรับใช้ในการประกอบธุรกิจของสหกรณ์ รวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน           Study the good governance of savings and credit cooperatives in Thailand. The objective was to study the administration applying good governance of savings and credit cooperatives in Thailand. And to provide guidelines for the development of savings and credit cooperatives by good governance. This research Methodology has established a procedure or method of research using research Qualitative Research with the concept papers. Theory and research involved in-depth interviews. Group member savings and credit cooperatives with government agencies and enterprises. Researchers have determined the subjects were divided into 2 groups include cooperative government. Enterprises and Cooperatives the sample included a total of 19 samples, which are summarized its findings as follows;          1. The administration applying good governance of savings and credit cooperatives in Thailand is defined strategic vision. Managed effectively. There's a structure and define the roles of each element clearly. Welfare for members appropriately. The control system and monitor. A system of monitoring and evaluation operations. In order to achieve the goal. Disclosure and dissemination of information news cooperative to its members, directors, officers and stakeholders thoroughly. Hearing of The opportunity for members to participate in the management and monitoring of the operations of the cooperative. With the development of cooperative directors and officers. To develop the knowledge, laws and regulations are also available on the equality of service and functionality. Including the preparation of the information system is secure and can be used effectively. But some still lack cooperative development and strengthen good governance in saving and credit cooperatives concretely.          2. Guidelines for management development saving and credit cooperatives based good governance that should be the guidelines for the development.              2.1 Develop a system for managing and enhancing good governance in a concrete              2.2 The rules, regulations, policies or measures in the management of cooperatives based on good governance              2.3 Development of information technology modernization to provide operational efficiency and effectiveness              2.4 Develop a system of internal control and risk management              2.5 To promote and support the practice of good governance policies and corporate governance of the cooperative          The recommendations from the study showed that the saving and credit cooperatives will have to increase the role and capabilities. To build credibility to the saving and credit cooperatives. And acceptable to all stakeholders. By adopting a saving and credit cooperatives approach to management based on good governance. Or governance of the saving and credit cooperatives. Adapted for use in the business of the saving and credit cooperatives. As well as develop and strengthen good governance in the management of saving and credit cooperatives in a systematic and concrete.

Downloads

Published

2021-04-20