ภัยร้ายในพื้นที่สาธารณะ : หนทางการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศกับ การตกเป็นเหยื่อของผู้หญิง บนรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • วรภัทร พึ่งพงศ์

Keywords:

การคุกคามทางเพศ, อาชญากรรม, ระบบขนส่งสาธารณะ, การป้องกันอาชญากรรม, เหยื่อเพศหญิง

Abstract

          ปัจจุบันปัญหาการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) เป็นปัญหาที่กำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วในทั่วโลก โดยสังเกตได้จากปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวทางสังคม เมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่เกิดปรากฏการณ์ Me Too จากการเชิญชวนของ อะลิสซา มิลาโน นักแสดงหญิงของประเทศสหรัฐอเมริกา ให้เผยแพร่วลีนี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความแพร่หลายของปัญหาทางเพศ โดยวลีดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจมาจากผู้เป็นเจ้าของวลีนี้ อย่างทารานา เบิร์ก นักกิจกรรมสังคมและนักจัดการชุมชน ที่ผลักดันการสร้างพลังด้วยการรับรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้หญิงผิวสีที่มีประสบการณ์ถูกทารุณทางเพศ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมครั้งสำคัญที่สร้างปรากฏการณ์ให้สังคมทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย บทความชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาองค์ประกอบของปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งสภาพปัญหา รูปแบบลักษณะของการคุกคาม ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารประเภทงานบทความวิจัย และงานบทความวิชาของต่างประเทศมาเป็นกรณีศึกษาทั้งหมด 6 ประเทศ เปรียบเทียบกับของไทยที่ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่เป็นเพศหญิงและเคยตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศบนรถฯ จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ 2 ตัวแทนเจ้าหน้าที่และผู้บริหารขององค์การภาครัฐกับองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุของปัญหาการคุกคามทางเพศที่ปรากฏบนรถโดยสารประจำทางเกิดจากผลพวงของมายาคติชายเป็นใหญ่ที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมค่านิยมของสังคมไทย 2) ลักษณะการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในสังคมไทยมักปรากฏในรูปแบบการคุกคามทางเพศด้วยวิธีการสัมผัส เช่น การแต๊ะอั๋ง การนำอวัยวะเพศชายถูไถ เป็นต้น 3) มุมมองผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นเพศหญิงต่อปัญหาการคุกคามทางเพศ จะมีการลดทอนคุณค่าในความเป็นเพศสภาพของตนว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ ไร้กำลังกว่าเพศชาย และระบบขนส่งสาธารณะเป็นพื้นที่สาธารณะที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดอาชญากรรม เพราะมีความแออัดจากผู้ที่ใช้บริการเป็นจำนวนมาก 4) วิธีการแก้ไขปัญหาขององค์การภาครัฐ และ/ หรือ องค์การพัฒนาเอกชน (NGO) ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะต้องมีสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการรู้สึกถึงความปลอดภัย และต้องมีการให้ความสำคัญกับสภาพปัญหาอย่างจริงจัง พร้อมเปิดโอกาสสร้างความร่วมมือกับองค์การภาคส่วนต่างๆ ในการช่วยขจัดปัญหานี้ให้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษานี้คือ เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะสะท้อนให้เห็นพัฒนาการของการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจาทางของไทย ที่สามารถนาประเด็นไปพัฒนาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหานี้ต่อไปได้ในอนาคต           In the present, the sexual harassment problem is highly threatened spread over the world observed by the social movement in 2018, “Me Too” from Alisa Milano, an actress of The United States who published this phase as a part of this campaign for awareness of the prevalence of sexual harassment problems, and this phase is inspired by the owner’s such as “Tarana Burke” a social activist and community manager, who want to push the empower to become aware of women African American who had experienced of abuse sex. Which is an important social movement that creates a phenomenon in society around the world and also including Thailand. This article is qualitative research focuses on the element of sexual harassment problem on buses, problems, threatening style, how to solve problems in public transport of Thailand. By data analysis in foreign document obtained from all 6 countries to compare with Thai document which from in-depth interviews of 2 group population. The First group, the female bus users who used to be victims of sexual harassment 13 people and Second group, the officers, administrators of government organizations and NGOs members 10 people, all 25 people. The results of the study were as follows: 1) The cause of the problem of sexual harassment on the bus due to the myth that men are deeply rooted in the culture, social values Thailand. 2) The sexual harassment on public transportation in Thailand often appears by touch, such as molest, etc. 3) The point of view of female user in public transport have the opinion of there has diminished the value of sexuality, his condition as being a weak sex, weaker than males and the public transport area has high risk of crime because of the overcrowding of user.4) The implement to solve a problem of the public organizations and/or non-governmental organization (NGO) both, at present and in the future must have to assure of safety for users and need to give precedence in problem along with collaborations with partnership organizations in various sectors, to eliminate this problem be concreted. Suggestions from this study are the new knowledge that reflects on the development issue of sexual harassment on public transportation in Thailand and can be further developed to study this issue in the future.

Downloads

Published

2021-04-20