แนวทางการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรภาคอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ภูชิสส์ ศรีเจริญ
  • ชัยวุฒิ จันมา
  • อนันต์ ธรรมชาลัย

Keywords:

การพัฒนา, การสร้างเสริมสุขภาวะ, องค์กรภาคอุตสาหกรรม, Happy workplace

Abstract

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ประการ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน และ 3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรภาคอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี การวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 บริษัท และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร ผู้จัดการและหน่วยงานภาครัฐจานวน 17 คน พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรโดยรวมสามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ประการโดยรวมได้ร้อยละ 34.7 (Adjusted R2 = .347) โดยมีปัจจัยแวดล้อมขององค์กรด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ และด้านทัศนคติ ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ประการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรด้านนโยบายและกฎระเบียบส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ประการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ประการโดยรวม พบว่า ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบมีน้ำหนักมากสุด (Beta = .248) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ประการโดยรวม 2) ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรโดยรวมสามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันโดยรวมได้ร้อยละ 42.4 (Adjusted R2 = .424) โดยมีปัจจัยแวดล้อมขององค์กรด้านนโยบายและกฎระเบียบ และด้านทัศนคติ ส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรด้านหน้าที่ความรับผิดชอบส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) แนวทางการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรภาคอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย (1) มาตรการเชิงรุก (2) มาตรการเชิงรับ (3) มาตรการเชิงป้องกัน และ (4) มาตรการการมีส่วนร่วมในการการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 ส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ           The objectives of this research article were 1) to study environmental factors of organization affecting the creation of happy 8 workplace. 2) to study environmental factors of organization affecting cohabitation behavior and 3) to study how to create happy workplace for industrial organization in Pathumthani province. This mixed methodology research consisted of 400 samples and in-depth interview of 17 people including executives, managers and other staff of government organizations. The researcher found that 1) the multiple linear regression: the environmental factors affecting behavior creation of happy 8 workplace were 34.7% (Adjusted R2 = .347). The statistical significance of environmental factors of organization in responsibilities and attitudes were 0.1 and in policies and regulations were .05. The independent variables affected the creation of happy 8 workplace which the responsibilities were the most important factor loading (Beta=.248). The organizational environment affected factors cohabitation behavior 42.4% (Adjusted R2 = .424). The other factors including policies, regulations and attitudes affected cohabitation behavior at statistical level of .01. The responsibilities affected cohabitation behavior at statistical level of .05. The attitudes were the most important factor loading which affected the cohabitation behavior (Beta = .283). The direction to develop happy workplace for industrial organization in Pathumthani province as following 1) proactive measure 2) reactive measure 3) preventive measure 4) collaborative measure to efficiently create happy workplace.

Downloads

Published

2021-04-20