กฎหมาย Extreme Pornography : การควบคุมสื่อโป๊รุนแรงในประเทศอังกฤษ

Authors

  • จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน

Keywords:

Extreme pornography, กฎหมาย, การควบคุมสื่อโป๊, ประเทศอังกฤษ

Abstract

          โศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของ Jane Longhurst จากการถูกคู่นอนรัดคอขณะมีเพศสัมพันธ์ นำมาซึ่งการรณรงค์ของภาคประชาชนเพื่อต่อต้านสื่อโป๊ ที่นำเสนอภาพความรุนแรงในกิจกรรมทางเพศในประเทศอังกฤษ และในที่สุดการรณรงค์นี้ก็ได้รับผลสำเร็จจนนำไปสู่การที่รัฐสภาของสหราชอาณาจักรพิจารณาและการผ่าน Section 63 of the Criminal Justice and Immigration Act 2008 (หรือที่รู้จักกันในนาม “กฎหมาย extreme pornography”) โดยสาระสำคัญของกฎหมายนี้วางหลักเกณฑ์ห้ามการครอบครองสื่อโป๊ ที่นำเสนอพฤติกรรมความรุนแรงในบริบทเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ (extreme pornography) กฎหมายมีความเข้มงวดมาก แม้การมีไว้ซึ่ง extreme pornography เพื่อการรับชมส่วนตัวก็ถือเป็นความผิดอาญา สหราชอาณาจักร* ถือเป็นประเทศแรกในยุโรปและในโลกตะวันตกที่มีการออกกฎหมายห้ามการครอบครองสื่อโป๊ ผู้ใหญ่ (adult pornography)* ประเด็นสำคัญที่บทความนี้มุ่งจะเสนอคือ การออกกฎหมาย extreme pornography ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการในการควบคุมสื่อโป๊จากแนวคิดเรื่องศีลธรรมไปเป็นแนวคิดเรื่องการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับร่างกายและชีวิตของผู้แสดง บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นถึงที่มา และอธิบายตัวบทกฎหมายที่มีความสลับซับซ้อน รวมไปถึงวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ เพื่อชี้ให้เห็นจุดเด่นและจุดด้อยซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันของกฎหมายนี้           In the wake of the tragic death of Jane Longhurst who was strangled by her partner while having sex, a campaign against violent pornography was launched in England. As a consequence, the United Kingdom Parliament passed a law which is prescribed in Section 63 of the Criminal Justice and Immigration Act 2008 (also known as the “extreme pornography law”) to regulate violent pornography. In essence, the extreme pornography law criminalises the possession of pornographic material depicting sexually violence which falls within the scope of “extreme pornographic material”. Interestingly, the possession of extreme pornography for personal use is also outlawed. As a result, the United Kingdom** has become the first country in Europe and in the western world which prohibits the possession of adult pornography. The significant issue of this law is that its justification has shifted from morality-based to harm-based, as to protect the physical safety and lives of those participating in the production of violent pornography. This article aims to tell the story behind the passage of the “extreme pornography law” and provides an explanation of this complicate law. In addition, it critically analyses the law to point out its debatable strengths and weaknesses.

Downloads

Published

2021-04-20