กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

Authors

  • ชญานิศ ภาชีรัตน์
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

Keywords:

การระงับข้อพิพาท, กระบวนการยุติธรรมทางอาญา, กฎหมายต้นแบบ

Abstract

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น          การวิจัยพบว่า ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสามารถใช้วิธีการระงับข้อพิพาทที่จะทำให้คดีอาญาลดลงไปได้ซึ่งจะส่งผลดีทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดลง ลดปัญหาความขัดแย้งเกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข โดยที่รูปแบบการระงับข้อพิพาทสามารถทำได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และต้องมีกฎหมายรองรับตามกฎหมายต้นแบบที่จัดทำ ขึ้นโดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วยการไกล่เกลี่ย การชะลอฟ้อง การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ การเจรจาต่อรองนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562          การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำเอาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ด้วยการนำกฎหมายต้นแบบจากการวิจัยไปใช้ข้อเสนอแนะเรื่องที่วิจัยต่อไปคือ “กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางแพ่ง”           The objective of the research is to create a model law on dispute resolution in criminal justice procedure. Research methodology is Qualitative research consisting of Documentary research; In-depth interviews; Participatory Design, Co- Design; and Hearing.          Research found out that in the criminal justice procedure, dispute resolution can be adopted to reduce criminal cases which will cause positive impact to minimize court cases and conflicts, resulting in reconciliation in society, reduce national budget, and strengthen the society in living together in a normal happy way. The dispute resolution model can be done at all stages of the judicial process and must have laws to support according to the model law created. The structure of model law consisting of Mediation; Suspension of prosecution; No prosecution to non-public interest; Plea-bargaining, which will lead to the amendment of the Mediation Dispute Act BE 2562.          Research recommended that the Model Law of this research should be utilized for the amendment of the Mediation Dispute Act BE 2562. Further research are" Model Law on Promoting Mediation Disputes Resolution in the Community" and" Laws on Civil Dispute Resolution".

Downloads

Published

2021-04-20