ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

Authors

  • กรกฎ ทองขะโชค
  • นันทพล กาญจนวัฒน์

Keywords:

ลุ่มน้ำ, ทะเลสาบสงขลา, การจัดการ, ข้อบัญญัติท้องถิ่น

Abstract

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์แห่งปัญหาและผลกระทบของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย และรูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา เพื่อจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเจาะจง การมีส่วนร่วมออกแบบและการรับฟังความคิดเห็น          ข้อค้นพบของการวิจัย คือ สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการจัดการลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา มี 3 ด้าน คือ ด้านองค์กรดำเนินงาน มีหลายหน่วยงานดำเนินการโดยไม่มีการประสานความร่วมมือกัน และไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการด้วย ด้านการจัดการที่ขาดประสิทธิภาพทำให้เป็นปัญหาความไม่เหมาะสมในการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำ การควบคุมมลพิษ ด้านสภาพบังคับตามกฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย และค่าชดเชยความเสียหาย          การวิจัยเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นตามแนวทางของข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา จากข้อค้นพบของการวิจัยเพื่อนำไปใช้ และข้อเสนอ แนะประเด็นวิจัยต่อไป คือ การศึกษาวิจัยข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เพื่อกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ความมั่นคงด้านอาหารในลุ่มน้ำ           The objective of the research is to study and analyze the situation of problems and impacts of Songkhla Lake Basin. The study basing on Basin area management according to foreign laws and Thai laws and Songkhla Lake Basin Management Model as well in order to create a local regulation model on Songkhla Lake Basin Management. The research methodology is qualitative research consisting of Documentary research; In-depth interview; Focus group; Participatory Design, Co-design; and Hearing.          The research found out that there are 3 aspects cause problems and obstacles in the management of Songkhla Lake Basin. There are too many agencies operating without cooperation and no local administrative organization involved. Inefficient management causes problems in an appropriated Basin land use; natural resources conservation; and pollution control. Ineffectiveness law enforcement and compensation for damage.          Research recommendation is local administrative organizations issue local regulation in accordance with the guidelines of the local regulation model on Songkhla Lake Basin Management. And further research recommended is a research on local regulation model for the designation of food security areas in the Watershed.

Downloads

Published

2021-04-20