แนวคิดนิติเศรษฐศาสตร์ในกระบวนพิจารณาคดีแพ่งและพาณิชย์

Authors

  • คณิน วงศ์ใหญ่

Keywords:

นิติเศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, การวิเคราะห์, กฎหมาย

Abstract

          บทความนี้ผู้เขียนเสนอแนวคิดในพัฒนากฎหมายที่พิจารณาจากประสิทธิภาพของกฎหมาย โดยการศึกษาหลักกฎหมายเฉพาะกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่เป็นกระบวนการอันนำตัวบทกฎหมายให้สามารถบังคับใช้ได้จริงตามเจตนารมณ์และถ้อยคำที่ได้บัญญัติไว้ในสิทธิทางแพ่ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีแนวคิดในทางการอำนวยความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมกันไม่เอนเอียงต่อฝ่ายใด          อย่างไรก็ตาม เพื่อพิจารณาถึงความต้องการพื้นฐานของประชาชนในปัจจุบันนั้นกฎหมายไม่ได้เป็นเรื่องความยุติธรรมเท่านั้นอีกแล้ว ซึ่งความต้องการพื้นฐานของประชาชนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือเรื่องปากท้อง การมีรายได้ รายจ่ายที่เหมาะสม โอกาสและการสูญเสียโอกาส อันคือเรื่องเศรษฐกิจที่ความรู้ทางกฎหมายไม่สามารถกำหนดได้ทั้งหมด เมื่อพิจารณาความหมายของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึง วิชาการใช้หรือการจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยหลักเศรษฐศาสตร์มีภารกิจมองไปในด้านการให้คุณค่ากับมิติด้าน“ประสิทธิภาพ” เป็นสำคัญ เพราะหากกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในเชิงมหภาคด้วย เช่น การว่างงาน, ปัญหาระดับราคาสินค้า, เงินเฟ้อ, เงินฝืด ซึ่งรวมถึงยังจะเกิดปัญหาที่เกิดทางอ้อมอีกด้วย เช่น ปัญหาอาชญากรรมในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์          ผู้เขียนจึงได้ศึกษาและเสนอหลักกฎหมายประยุกต์กับหลักเศรษฐศาสตร์ อันจะสามารถช่วยเหลือสนับสนุนกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งเรียกว่า นิติเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่าด้วยกฎหมาย เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาประเด็นสำคัญทางกฎหมาย ทฤษฎีกฎหมาย การตีความกฎหมาย การออกแบบกฎหมาย การประเมินคุณค่า โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพและมีความสอดคล้องกับหลักนิติเศรษฐศาสตร์ ดังนี้          1. ผู้เขียนเสนอให้เมื่อการพิจารณาในการบัญญัติกฎหมายหรือการแก้ไขกฎหมาย ต้องให้มีนักเศรษฐศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางนิติเศรษฐศาสตร์เป็นผู้ร่วมให้ความเห็นและพิจารณากฎหมายด้วย          2. ผู้เขียนเสนอให้มีการนำเสนอความรู้นิติเศรษฐศาสตร์มาส่งเสริม โดยนำมาจัดการเรียนการสอน การอบรม และอภิปรายให้กับนักศึกษากฎหมายนักกฎหมาย รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาความแพ่ง ไม่ว่าจะเป็น ศาล อัยการคดีแพ่ง ทนายความ เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นต้น          3. ผู้เขียนเสนอให้มีการนำหลักนิติเศรษฐศาสตร์มาพิจารณาและใช้กฎหมายวิธีการพิจารณาคดีแพ่งมีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการการวัดและประเมินกระบวนการตามหลักนิติเศรษฐศาสตร์ และการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น เทคโนโลยี, Big Data เพื่อให้การใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น          4. ผู้เขียนเสนอให้มีการนำหลักนิติเศรษฐศาสตร์มาเป็นแนวคิดในการบัญญัติกฎหมายและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายวิธีการพิจารณาคดีแพ่ง ให้เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในทางเศรษฐกิจ เช่น การบัญญัติกฎหมายที่กำหนดหน้าที่เพื่อป้องเหตุพิพาท เพื่อมิให้เกิดความเสียหายที่มากกว่าภายหลังการพิพาท หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในเรื่องโทษหรือผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนให้เหมาะสมที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบังคับใช้กฎหมาย          กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งจึงไม่ใช่แต่เพียงการอำนวยความยุติธรรม ไม่เอนเอียงเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการเยียวยาการแก้ปัญหาทางแพ่งและพาณิชย์ที่เกิดกับคู่ความ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ค่าใช่จ่ายของรัฐ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย อันที่จะทำให้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ประสิทธิภาพ           This article proposes legal development and efficiency regarding civil and commercial procedural principles. Such procedural principles apply in accordance with objective and literal as specified in the civil rights. The process has the main objective to uphold justice with the aim to be fair and impartially equality. However, when considering fundamental needs of people, law does not only uphold justice but also reach the demand of public interest. Another aspect is quality of living, balance between income and expense, opportunity and loss. The content of law does not limit all aspects of life. When considering the meaning of economics, these cover the use of limited natural resources in response to human needs with the best interest. The economic principle links with legal effectiveness. If law is not effective enforcement, this will lead to some impacts in macroeconomics. For example, unemployment, goods price, inflation and other indirect problems (criminal problems in property context). Based on this reason, author studies and proposes the combination between law and economics application in order to support legal efficiency called law and economics or the analysis of legal economics. The selected issue of law,legal philosophy, legal interpretation, legal design, and legal assessment are as follows.          1. The author proposes that expertized lawyers and legal economics should work together in legal enactment or legal amendment processes.          2. The author proposes the use of law and economics knowledge in promoting teaching, training, discussing with law students and other people involved in civil and commercial procedures (e.g. courts, civil prosecutors, lawyers, executing officers).          3. The author proposes to take law and economics concept to be applied efficiently in civil and commercial procedures. The assessment is based on law and economic concepts along with the use of instruments to improve law effectiveness, for example, technology, big data etc.          4. The author proposes the law and economics concept applied in legal enactment particularly both civil and commercial and civil procedural codes amendment. In order to increase economic efficiency, legal preventive measures for settling disputes or legal punishment amendments to offenders are two instances to achieve strong legal enforcement.          Civil justice system is not only uphold justice with impartiality but also reconciling civil and commercial problems to all litigants, involved people. It also helps to safe governmental budget and overall economic systems. All proposed law and economics concept can contribute the legal effectiveness of civil and commercial procedures.

Downloads

Published

2021-04-20