การขาดเอกภาพเป็นปัญหาของอาเซียน

Authors

  • มาร์กกุ ซาโลมา
  • เอกวิทย์ มณีธร
  • โชติสา ขาวสนิท
  • ภารดี ปลื้มโกศล

Keywords:

การขาดเอกภาพ, ปัญหาของอาเซียน, ASEAN’s problem

Abstract

         บทความนี้มีเป้าหมายในการนำเสนอความไร้เอกภาพของอาเซียนในสองประการซึ่งทำให้อาเซียนขาดความสามารถในระดับระหว่างประเทศ และเปิดโอกาสให้กับจีนในการขยายอิทธิพลมายังอาเซียน ประการแรก อาเซียนไม่สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของจุดยืนร่วมกันเพื่อต่อต้านจีนในการการยึดพื้นที่ในทะเล ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐสมาชิกของอาเซียนต้องการพิทักษ์อำนาจอธิปไตยโดยการแสดงจุดยืนและมีบทบาทที่แตกต่าง เนื่องมาจากการขาดเอกภาพของอาเซียน จีนจึงสามารถทำตามทัศนะของชาติตนและ ไม่สนใจคำประกาศและคำแนะนำของอาเซียน ประการที่สอง ความขัดแย้งภายในอาเซียนทำให้อาเซียนให้ความสำคัญกับปัญหาของตนเอง ดังนั้นอาเซียนไม่สามารถเป็นแนวร่วมที่มีเอกภาพอย่างมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนปัญหาประการหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อรัฐสมาชิกอาเซียนจำนวนมากคือ วิกฤติผู้อพยพชาวโรฮิงญาซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่พม่าฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ทางตอนเหนือ แม้ว่ารัฐสมาชิกบางรัฐมี ส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรม แต่ความช่วยเหนือนี้เน้นที่การแก้วิฤติมากกว่าการแก้ไขที่สาเหตุ อุปสรรคหลักอยู่ที่แนวคิดของพม่าที่ยึดถือหลักอธิปไตยของตนเองและปฏิเสธการเจรจาเกี่ยวกับการให้ความเป็นพลเมืองกับชาวโรฮิงญาว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศของพม่าอย่างไม่เหมาะสม           This article aims to present Asean’s disunity in two important respects that makes Asean lack international capability and offers opportunities to China to expand its influence into Asean. First Asean cannot come to decision on common stand to confront China’s seizure of territories in the sea. This caused by Asean member states want to conserve their sovereignty by showing their standpoints and playing their roles differently. Due to Asean disunity. China acts according to its national views and gives no attention to declaration or recommendations by Asean. Second, tension within Asean makes Asean put a priority on its own problems. Therefore, Asean cannot be an effective unified front against expanding Chinese influence. One important problem that affects many member states is Rohingya refugee crisis caused by Burma’s anti-Rohingya cleansing in northern Rakhine state. Even though, some member states take part in providing humanitarian assistance but this assistance focus on managing the crisis not getting to the root causes. The main obstacle is Myanmar mindset that holds on its sovereignty and rejects any talks relating to the issue of granting citizenship for Rohingya as undue interference in domestic affairs.

Downloads