ระบบคิดเชิงเหตุผลของการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมไทย

Authors

  • ปฤณ เทพนรินทร์

Keywords:

การปลูกฝัง, ประชาธิปไตย, ธรรมาธิปไตย, สังคมไทย

Abstract

          บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดลองตั้งคำถาม (problematize) ต่อองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ในประเด็นหลักเรื่อง “การสร้างประชาธิปไตย” (democratization) โดยมีจุดเน้นในประเด็นที่เฉพาะเจาะจงลงไปที่การให้การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (civic education) ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องการสืบค้น คือการอธิบายลักษณะของระบบคิดเชิงเหตุผล (rationality) ที่วาทกรรมการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (civic education) แสดงออก ในกรณีนี้ ผู้เขียนเลือกศึกษาผ่านกรณีรายวิชาสังคมธรรมาธิปไตย RSU 101 เป็นหลัก พร้อมเสริมกรณีอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น รายวิชา TU100, การอบรมให้ความรู้, คู่มือสำหรับการสร้างพลเมือง ฯ ทั้งนี้ข้อเสนอหลักของบทความคือ มีหลายกรณีของการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่กลับกลายเป็นการสร้างความไม่เป็นพลเมืองหรือความไม่พร้อมของประชาชนให้เกิดขึ้น สาเหตุหลักเกิดจากการหมกมุ่นในการชี้วัดและปรับแต่งตัวตนของพลเมืองมากกว่าจะส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์จริงของการมีส่วนร่วม           In this article, I problematize civic education - a crucial element of democratization. The question of this article “What is the rationality of the discourse of Thai civic education?”. The author studied through the case of civic education courses as the RSU 101, along with other similar cases, such as TU 100, guide books or texts for civic educational training projects in bureaucratic organizations. The main proposal of the article is there are many cases of civic education that create “subject” instead of citizen. The main reason is due to the preoccupation of identifying and modifying the identity of the citizen rather than encouraging the real experience of participation.

Downloads