การบริหารจัดการการส่งเสริมการออมเพื่อประชาชนของธนาคารออมสินในจังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • ดัชนีกร มีภาษี

Keywords:

การบริหารจัดการ, การส่งเสริมการออม, ธนาคารออมสิน

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การส่งเสริมการออมเพื่อประชาชนของธนาคารออมสินในจังหวัดสุพรรณบุรี (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการส่งเสริมการออมเพื่อประชาชนของธนาคารออมสินในจังหวัดสุพรรณบุรี และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการส่งเสริมการออมเพื่อประชาชนของธนาคารออมสินในจังหวัดสุพรรณบุรีประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้าน มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยที่สำคัญของการศึกษาครั้งนี้ ทั้ง 5 ด้านนั้น ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การมีความรู้ และการมีคุณธรรม          ระเบียบการวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลสนามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบโดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาความเที่ยงตรงได้ค่าเท่ากับ 0.89 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.91 ประชากร คือ ประชาชนทั้งหมดในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยจังหวัดสุพรรณบุรีรวม 852,003 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,110 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 ถึง 31 พฤษภาคม 2561 เก็บรวบรวมกลับมาได้ 1,082 คน คิดเป็นร้อยละ 98.38 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,110 คน สำหรับวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ในรูปตารางรวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจงบุคคล และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวคนละไม่น้อยกว่า 60 นาที โดยแบบสัมภาษณ์ แนวลึกที่มีโครงสร้าง          ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ ธนาคารจัดสรรงบประมาณในการให้บริการการส่งเสริมการออมไม่เพียงพอ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ ธนาคารควรมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการให้บริการการส่งเสริมการออมอย่างเพียงพอ และควรปฏิบัติตามนโยบายด้านการส่งเสริมการออมอย่างเคร่งครัด และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการประสบความสำเร็จ คือ การที่ผู้บริหารของธนาคารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ดี และมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการออมเพื่อประชาชน รวมถึงมีการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการ             The objectives of this study were to study: 1) problems of administration to promote saving for the people of the Government Savings Banks in Suphanburi province, 2) development guidelines administration to promote saving for the people of the Government Savings Banks in Suphanburi province, and 3) significant factors affecting the achievement of the in guidelines of the administration to promote saving for the people of the Government Savings Banks in Suphanburi province. The philosophy of Sufficiency Economy of 5 aspects was applied to this study framework. The 5 aspects were moderation, reasonableness, self-immunity, knowledge and virtue.            Methodology of this research was designed the research design as mixed methods research applying quantitative research as a principal and qualitative research as a supplementary. The quantitative research was survey research collecting large field data from samples with questionnaires. The questionnaires passed try out of validity check at level of 0.91 and reliability check at level of 0.89 Population was all 852,003 people residing in the areas of Suphanburi province. Sampling size was 1,110 people residing in the areas of Suphanburi province calculated by using the Taro Yamane’s formula. Field data collection was operated during 1 April - 31 May 2018, The sample collested was 1,082, equal to 98.38% of the 1,110 total sample. Data analysis was presented in contingency table with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were percentage, mean, and standard deviation. For qualitative data, in-depth interview of 9 experts, selected by the Purposive Sampling Concept with face to face interview of at least 60 minute each and structured in-depth interview form, was also applied.             Findings of this research were (1) the major problem was the bank’s lacking of budgets to promote savings for the people. (2) the major development guidelines were: the bank should provide sufficient budgets the saving promotion and should follow the holding saving of promotion, and (3) the significant factors affecting the achievement of the development guidelines of administration: the significant factors affecting the achievement of the administration development guidelines administration were that the banks executives were good visionaries. And they had a clear policy the saving promotion for the people include support for modern technology to be used in management.

Downloads