กลยุทธ์การสร้างจิตอาสาขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • นัธทวัฒน์ โสภณเศวตศิลป์
  • อุบล ยะไวทย์ณะวิชัย
  • พจนา พิชิตปัจจา

Keywords:

คุณค่าสาธารณะ, จิตอาสา, ทุนทางสังคม

Abstract

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างจิตอาสาขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว และวัตถุประสงค์ย่อย คือ 1) เพื่อศึกษาถึงการกำหนดคุณค่าสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 2) เพื่อศึกษาถึงการสร้างขีดความสามารถการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 3) เพื่อศึกษาถึงการสร้างความชอบธรรมทางอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบล ดอนแก้ว โดยใช้วิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทั้งนี้มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษา จำนวน 72 คน ได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว บุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนแก้ว ผู้นำชุมชน และกลุ่มจิตอาสา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารเกี่ยวกับการสร้างจิตอาสาขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว          ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การสร้างจิตอาสาขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว มีขั้นตอนในการพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดค่านิยมร่วมกัน คือ ขั้นตอนของการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และสิ่งที่ชุมชนต้องการ และนำมากำหนดเป็นค่านิยม/ ความเชื่อพื้นฐานทั้งด้านสาธารณสุขคือ “สุขภาพที่ดีเกิดขึ้นได้ด้วยชุมชนเอง” ด้านสังคมคือ “เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง” และด้านสิ่งแวดล้อมคือ“ใครเป็นผู้สร้างขยะ คนนั้นต้องกำจัดขยะด้วยตนเอง” เพื่อส่งมอบให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาศักยภาพในการดำเนินงาน คือ ขั้นตอนการพัฒนาระบบจิตอาสา หรือระบบ อ. (จิตอาสา) เพื่อเป็นแกนนำหลักในการร่วมขับเคลื่อนดูแลชุมชน ขั้นตอนที่ 3 สร้างข้อตกลงร่วมกันในการดูแลสุขภาพของชุมชน คือ ขั้นตอนการสร้างความยอมรับจากประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะด้านสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าการจัดทำบริการสาธารณะมิใช้เป็นเพียงแค่เจตจำนงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนแก้วยินยอมพร้อมใจให้จัดทำ เพื่อเป็นหลักประกันแห่งผลประโยชน์ที่สาธารณะพึงจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน            The main objective of this research is to study the creating voluntary values strategies of DonKaew Subdistrict Administrative Organization and its sub-objectives: 1) To study the determination of public values of DonKaew Subdistrict Administrative Organization 2) To study the capacity building of DonKaew Subdistrict Administrative Organization 3) To study the creation of power legitimacy of DonKaew Subdistrict Administrative Organization. By using the qualitative research methodology, there are 72 key informants in the study group, namely, DonKaew Subdistrict Administrative Organization, Personnel of DonKaew Subdistrict Administrative Organization, community leaders and volunteer groups by collecting primary data from in-depth interviews, non-participant observation and secondary data collection from documents concerning the volunteer building of DonKaew Subdistrict Administrative Organization.            The result of the study showed that the strategy of creating voluntary values within DonKaew Subdistrict Administrative Organization includes 3 steps in the development process: Step 1 Determining common values is the process of finding out the problems in the community and the needs of the community and defines as the basic values/ beliefs on the basis of public health as "Good health can happen from the community itself". For the society sector is "Transforming the burden into power" and the environment sector is "The creator of the garbage must dispose of the garbage by himself” to deliver to the people of DonKaew sub-district. Step 2 Development of operational potential is the development process of the volunteer system (voluntary values) that instills values in the 3 aforementioned areas to be the main leader in the community-driven movement. Step 3: Create a mutual agreement in the care of the community's health, namely the process of creating public acceptance of public service provision in public health of DonKaew Subdistrict Administrative Organization to show that the public service is not only used as the will of the DonKaew Subdistrict Administrative Organization, but it is something that people in DonKaew sub-district agree to create to be a guarantee of equality for the interest of the public.

Downloads