ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของบุคลากร ในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

Authors

  • พีรญา แสงอุไร
  • โชติมา แก้วกอง

Keywords:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, คณะวิศวกรรมศาสตร์, ภาวะผู้นำ, ทัศนคติ

Abstract

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของบุคลากร คณะ วิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของบุคลากรในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัวต่อเดือน ตำแหน่งงาน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวนผู้ใต้บังคับ  บัญชา กับทัศนคติของบุคลากรในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ กับทัศนคติของบุคลากรในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 67 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple  Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .958 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยมีค่าระดับความเชื่อมั่นที่ .05        ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก (average = 4.075, S.D. = .447) 2) บุคลากรสายสนับสนุนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีทัศนคติในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (average = 3.752, S.D.= .429 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุด (F = 3.985, P = .023) รายได้ครอบครัวต่อเดือน (F = 6.909, P = .002) และตำแหน่งงานของบุคลากร (t = -2.252, P = .028) ต่างกัน มีผลทางทัศนคติของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) พบว่าบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ จำนวนผู้ใต้บังคับบัญชา (r = .476, P = .000) มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของบุคลากรในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของบุคลากรในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .664, P = .000)         The purposes of this research were 1) to study the level of leadership of personnel in Faculty of Engineering in a university, 2) to investigate attitude of personnel towards learning organization of Faculty of Engineering in a university, 3) to compare the attitude of personnel towards learning organization of Faculty of Engineering in a university in relation to demographic variables, 4) to study the correlation between demographic variables , i.e. age, length of employment , number of subordinates, and the attitude of personnel towards learning organization of Faculty of Engineering in a university and 5) to study the relationship between leadership and attitude of personnel towards learning organization of Faculty of Engineering in a university. The participants were 67 supporting personnel of Faculty of Engineering in a university. They were selected by the simple random sampling. The research instrument was a questionnaire with Cronbach’s alpha coefficent of .958. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance and pearson product moment correlation. The statistical level of significance was set at .05.          The results showed that 1) the personnel had high level of leadership (average = 4.075, S.D. = .447), 2) the personnel’s attitudes towards the learning organization was at high level (average =3.752, S.D. = .429). The hypothesis testing showed that 3) demographic variables, i.e., educational level (F= 3.985, P = .023), family monthly income (F = 6.909, P = .002), and the position (t = -2.252, P = .028) significantly affected personnel’s attitude towards learning organization of Faculty of Engineering, 4) the numbers of subordinates (r = .476, P = .000) significantly correlated with attitude of personnel towards learning organization of the Faculty of Engineering in a university, and 5) the leadership significantly correlated with attitude of personnel towards the learning organization of Faculty of Engineering in a university. (r = .664, P = .000).

Downloads