การบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี
Keywords:
การบริหารจัดการ, การประชาสัมพันธ์, การเผยแพร่ความรู้, การคัดแยกขยะมูลฝอย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัดสระบุรีAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาของการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี (2) ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี ส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ประสบความสำเร็จ การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริมโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คน กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1.110 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และให้ข้อมูลหลัก จำนวน 24 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ด้วยการถอดความ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการประชาสัมพันธ์บางคนขาดคุณธรรมและขาดจิตสาธารณะในการให้บริการ (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรส่งเสริมให้บุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์มีจิตสาธารณะและมีคุณธรรมในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในในการทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นประสบความสำเร็จที่สำคัญคือการที่ผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีวิสัยทัศน์และมีนโยบายที่ชัดเจนที่ให้การสนับสนุนในทุกกิจกรรม/ โครงการ The main objectives of this study were to study ; (1) problems of Administration of Public Relations of Knowledge Segregation on Waste of Local Administrative Organization in Saraburi Province, (2) the development guideline of Administration of Public Relations of Knowledge Segregation on Waste of Local Administrative Organization in Saraburi Province, and (3) the main factors leading the success of the development guidelines of Administration of Public Relations of Knowledge Segregation on Waste of Local Administrative Organization in Saraburi Province. This study was designed as mixed method research using qualitative research as principle mean and supported by qualitative research. The quantitative research was survey research, collecting a large data set from questionnaires. The questionnaire passed try-out validity check at level of 0.91 and reliability check at level off 0.93. Population was all 640,065 people in Saraburi Province. Total of 1,110 samples were calculated by using Taro Yamane’s formula with 0.05 error level. Data analyzed was summarized in a contingency table with a descriptive approach. Statistics gathered were percentage, mean, standard deviation, multiple regression and Pearson’s correlation coefficient. The qualitative research collected data from 24 experts purposefully selected. The tool used to collect data structured In-Depth interview, collecting data by fact to fact In-Depth interview and analyzing data by descriptive interpretation. Findings of this research were; (1) the major problems of administration were the some public relations officials of the Local Administrative Organization lack of public morality and lack of public mind service, (2) the Local Administrative Organization should promote public relations personnel with morals and ethics in public relations operations, and (3) the main factors of the success of the development guideline was that the administrators need to have the knowledge, ability, good vision and clear policies that support the implementation of all activities/projects.Downloads
Issue
Section
Articles