การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร

Authors

  • อธิป จันทร์สุริย์
  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์

Keywords:

การพัฒนาตัวบ่งชี้, การจัดการมรดก, ภูมิปัญญา, วัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาภาพอนาคตแนวโน้มองค์ประกอบการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร และ 3) พัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร โดยในขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคการวิจัยการวิจัยทฤษฎีฐานราก โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และการวิจัยเอกสาร เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และในขั้นตอนที่ 2 ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ด้านองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในการนำมาพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร         ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะด้านการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการวิจัยทฤษฎีฐานราก ได้องค์ประกอบหลักจำนวน 11 องค์ประกอบ และแนวโน้มองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยที่ได้จากการสัมภาษณ์รอบที่ 1 แบบสอบถามรอบที่ 2 จากผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็นการพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวโน้มองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยที่ได้เป็นตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร ได้ 9 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้หลักที่ 1 ความสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้หลักที่ 2 ความแท้ ตัวบ่งชี้หลักที่ 3 ประสบการณ์ ตัวบ่งชี้หลักที่ 4 การมีส่วนร่วม ตัวบ่งชี้หลักที่ 5 การจัดการ ตัวบ่งชี้หลักที่ 6 ความรู้ และทักษะ ตัวบ่งชี้หลักที่ 7 ชุมชนและเครือข่าย ตัวบ่งชี้หลักที่ 8 กระบวนการเรียนรู้ และตัวบ่งชี้หลักที่ 9 กิจกรรมทางวัฒนธรรม           This research aims to 1) study the characteristics of Intangible cultural heritage management and characteristics of creative tourism 2) study the scenario of trends composition to intangible cultural heritage management for creative tourism and 3) develop the indicatiors of the intangible cultural heritage management for creative tourism of Chumphon Province. The process had 2 steps: Step 1 used grounded theory method by studying theoretical concepts and document research to obtain information about the characteristics of Intangible cultural heritage management and characteristics of creative tourism. Step 2 used EDFR Future Research Techniques by interviewing 17 experts who had experience to create components and sub-components in developing the indicators in intangible cultural heritage management for creative tourism, Chumphon Province.          The study revealed that the characteristics of intangible cultural heritage   management for creative tourism from grounded theory method had 11 main components and the study from interviewing experts revealed that there were 9 main-indicators included   1) creative 2) authentic 3) experience 4) participation 5) management 6) knowledge and skill 7) community and network 8) learning process and main indicator 9) Cultural Activity. More      over, the study showed that there were 41 sub-indicators in measuring the performance of   the characteristics of intangible cultural heritage management for creative tourism.

Downloads