การปรับปรุงกฎหมายเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดนของประเทศไทยให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามความตกลงของอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

Authors

  • ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน

Keywords:

การขนส่งสินค้าผ่านแดน, ศุลกากร, อำนวยความสะดวก, การค้า

Abstract

         ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นภาคีความตกลงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดนหลายฉบับทั้งในกรอบอาเซียน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และกรอบระหว่างประเทศอื่นๆ จึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในการให้เสรีภาพการผ่านแดนของสินค้าที่มาจากประเทศอื่น ห้ามเก็บอากรแก่การขนส่งผ่านแดนนั้น ตลอดจนดำเนินการให้ระบบศุลกากรผ่านแดนอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานเดียวเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ในปัจจุบันประเทศภาคีอาเซียนยังมีอุปสรรคในการพัฒนาความร่วมมือด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดนร่วมกัน เช่น ปัญหาการใช้ระบบเอกสารที่แตกต่างกัน และกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันระหว่าง ความตกลงอาเซียนและความตกลงอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้การขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศภาคีอาเซียนยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สำหรับประเทศไทยเอง ยังมีอุปสรรคด้านกฎหมาย เช่น การลักลั่นของบทบัญญัติกฎหมายเรื่องสินค้าผ่านแดน และความคลุมเครือของบทบัญญัติเรื่องการผ่านแดน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลงที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสานความร่วมมือด้านขนส่งผ่านแดนร่วมกันของอาเซียน          As a contracting party of ASEAN, GMS and other international agreements relating to goods in transit, Thailand is required to comply with the commitment to ensure freedom of transit, exempting transit goods from customs duties and other charges, and provide unified customs procedures to facilitate goods in transit. Nowadays, ASEAN countries face obstacles in complying with different documentation and rules arising from ASEAN and GMS agreements which hinder facilitation of transit in the region. In Thailand, there are also overlapping rules and regulation. Certain provisions of transit remain opaque. The study aims to recommend a revamp of certain domestic regulations to comply with international commitments to promote international trade and enhance the cooperation among ASEAN countries.

Downloads