การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า
Abstract
การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประยุกต์วิธีการถอดบทเรียน และการใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลพื้นที่บางกะเจ้า ชาวบ้านในชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 17 คน จากการศึกษาแนวทาง สถานการณ์ บทบาท และแนวโน้มของรูปแบบการจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศ ด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการท่องเที่ยวพื้นที่บางกะเจ้า นำไปสู่การสังเคราะห์แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การจัดการชุมชนตามกรอบของ Town Matrix พบว่า ในด้านของกลยุทธ์เชิงรุก นั้นควรมีการกำหนดมาตรการทางสังคม กฎกติกาและกฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในชุมชน การสร้างความร่วมมือและการประสานแผนงานโครงการในการจัดการพื้นที่เชิงระบบนิเวศ สำหรับกลยุทธ์เชิงแก้ไข ควรมีการส่งเสริมการจัดสวัสดิการจากฐานองค์กรการเงินชุมชนในรูปแบบของการออมทรัพย์หรือการสะสมหุ้นของสมาชิกสหกรณ์เพื่อให้เกิดเป็นกองทุนหมุนเวียนในชุมชนและนำผลกำไรที่เกิดจากการหมุนเวียนเงินออมมาจัดสวัสดิการแก่ชุมชน ส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการฐานอัตลักษณ์ของชุมชน และหากพิจารณาถึงกลยุทธ์เชิงป้องกัน เห็นว่าควรมีการเสริมสร้างบรรทัดฐานทางสังคม เพื่อสร้างค่านิยม ความเชื่อ และส่งเสริมจริยธรรม กฎ ระเบียบของชุมชน และการส่งเสริมการสร้างภาคีความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน ตลอดจนกลยุทธ์เชิงรับ ควรมีการตอบโต้แบบทันท่วงที เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาได้ตรงจุดตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นการบริหารจัดการเพื่อคลี่คลายสถานการณ์วิกฤติให้อยู่ในภาวะปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึง การบรรเทาและฟื้นฟู และการส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน โดยการแทรกเนื้อหาและกิจกรรมเสริมที่เน้นการปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และจากการศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์ การจัดการชุมชนแบบตอบแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนบางกะเจ้า ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR สามารถจำแนกองค์ประกอบของกลยุทธ์ออกเป็น 9 มิติ ได้แก่ มิติวิถีชีวิตชุมชน มิติความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ มิติด้านการจัดการหน่วยวิจัยชุมชน มิติด้านความเป็นอนุรักษ์นิยมของชุมชน มิติด้านกฎหมาย หรือระเบียบแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการ มิติด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มิติด้านการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มิติด้านการจัดการระบบนิเวศ และมิติด้านการจัดการภาวะคุกคาม The Development of Community Management Strategies Payment for Ecosystem Services and Biodiversity in Tourism Zone Bang Kachao uses the qualitative research that consists of documentary research, in-depth interview, applied lesson learned visualizing, and EDFR method research. The major contributors are Bang Krachao local staffs, community folks, tourism government staffs, tourists, academics, and stakeholders for 17 people. From the studies of guideline, scenario, role, and trend of the management model of ecosystems stewardship community by using the community as tourism base of Bang Krachao area that leads to the guideline synthesis for the development of community management strategy in the Town Matrix framework. This is found that, in term of aggressive strategy, the measurement of social, regulation, and law should be determined for the management of environment, culture and community tourism, providing cooperation and collaboration of project plan in the ecosystem area management. For the corrective strategy, there should be the support for welfare establishment from community financial organization base in term of savings or collecting shares of cooperative members for the circulated funds in the community and utilize the revenue from savings circulation to provide welfares for the community and support the value adding of community resources to the community identity based merchandises and services. And, considering the preventive strategy, social norms should be supported in order to create value, beliefs, and to encourage the community moral, rule, and regulation and also to support the collaborative association of the community resources preservation. For the defensive strategy, the promptly responses should be made in order to support the direct problem solving as necessary because this is the management to normalize the critical scenarios as fast as possible including alleviation and recovery, and encourage the environment learning procedures for youths by adding contents and activities to foster the conscious for social and environment responsibility. Then, from the component study of management strategy for ecosystems stewardship community in tourism area which has biological diversity (Bang Krachao) by using EDFR research method, the component of strategies can be classified into 9 dimensions as follows; community way of life, entrepreneur social responsibility, community research unit management, community conservatives, laws, or the management guideline, conservative tourism, sustainable eco-friendly production and consumption, ecosystem management, and threats management.Downloads
Published
2022-12-23
Issue
Section
Articles