การคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับการยึดที่ดินของผู้ประกอบอาชีพชาวนาในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง

Authors

  • จิดาภา พรยิ่ง

Abstract

           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและการคุ้มครอง ปัจเจกชน ประเภทมูลหนี้ของผู้ประกอบอาชีพชาวนาที่ควรได้รับคุ้มครองจากการบังคับคดีที่ดินทำนาขายทอดตลาด กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายต่างประเทศ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การมีส่วนร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบรับฟังความคิดเห็นของประชาชน            ผลวิจัยพบว่า ในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพชาวนาที่ถูกบังคับที่ดินทำนาขายทอดตลาดในประเภทมูลหนี้ของชาวนาได้บางประเภทซึ่งจะส่งผลดีทำให้ผู้ประกอบอาชีพชาวนายังคงมีที่ดินทำนา เป็นการรักษาพื้นที่ดินทำกินไว้สำหรับเกษตรกรรมมิให้สูญสิ้นไป ขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็มิได้เสียสิทธิในการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ โดยที่รูปแบบการคุ้มครองสิทธิเกี่ยวข้องกับบังคับคดีที่ดินทำนาประเภทมูลหนี้ของชาวนา ต้องมีกฎหมายรองรับเพื่อคุ้มครองสิทธิ จึงนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 336/1 และร่างกฎกระทรวงวิธีการและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการบังคับคดีประเภทมูลหนี้ของผู้ประกอบอาชีพชาวนา การวิจัยเสนอแนะให้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเพิ่มเติมมาตรา 336/1 และร่างกฎกระทรวงวิธีการและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการบังคับคดีประเภทมูลหนี้ของผู้ประกอบอาชีพชาวนาจากการวิจัยไปใช้ต่อไป             The objective of this research is to study the concept of civil justice process and individual protection, sources of obligation that farmers as debtors should be protected from land seizure for the purpose of auction, laws relating to legal execution according to Thai Civil Procedure Code and foreign laws. This research adopted qualitative research methods based on documentary research and participation of people to share opinions on this matter.             The research results show that, in civil justice procedure, protection of farmers’ right to avoid land seizure from some sources of obligation is beneficial since farmers still own farmlands for sustainable agriculture purpose. Simultaneously, creditors do not lose the rights of debt repayment from farmers. Accordingly, provisions relating to such protection should be provided by amending Section 336/1 of the Civil Procedure Code as well as Draft regulations on process and conditions relating to legal execution of farmers’ sources of obligation. It is suggested that the research results should be used as a reference for the future amendment of Section 336/1 of the Civil Procedure Code and Draft regulations on process and conditions relating to legal execution of farmers’ sources of obligation on the next occasion.

Downloads

Published

2022-12-23