ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ไปสู่การปฏิบัติ

Achievement of the Implementation of Administration and Development Policy of the Thailand’s Southern Border Province, 2012-2014

Authors

  • เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์, นโยบายการบริหาร, การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, Achievement, Administration policy, Development of the southern border provinces

Abstract

การวิจัย “ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 - 2557 ไปสู่การปฏิบัติ” โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 - 2557 ไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการศึกษาพื้นที่ที่ประสบปัญหาความไม่สงบตามนโยบายรัฐบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) เป็นสำคัญ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 - 2557 ไปสู่การปฏิบัติ ทั้ง 3 ระดับ 1) ระดับผลผลิต ในการนำนโยบายฯ บรรลุวัตถุประสงค์ ในเรื่องความปลอดภัยและปกติสุขของประชาชนในพื้นที่ ความรุนแรงลดลง ประชาชนไว้วางใจภาครัฐและเกิดความร่วมมือมากขึ้น รวมทั้งสังคมไทยเกิดการรับรู้ และมีความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริง และตระหนักถึงความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ตลอดจนมีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ กระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามนโยบายฯ ให้ความร่วมมือด้วยดี อย่างเต็มที่ เต็มกำลังความสามารถ และสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้นโยบายบรรลุวัตถุประสงค์ และประชาชนมีความพึงพอใจต่อการนำนโยบาย ฯ ไปปฏิบัติ ทางด้านแผนงาน/ โครงการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดอาชีพ มีรายได้ พึงพอใจเจ้าหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน ร่วมทั้งการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ประชาชนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 2) ระดับผลลัพธ์ สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้ โดยเฉพาะการยุติเหตุรุนแรง ผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในพื้นที่ ทั้งระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด และยังมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีประเด็นช่องว่างการดูแลพื้นที่ของหน่วยงานรับผิดชอบ จึงทำให้เกิดเหตุรุนแรงในบางพื้นที่ และบางโอกาส 3) ระดับผลกระทบด้านสังคมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมที่นำไปสู่การฟื้นฟูสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ ด้านเศรษฐกิจ สร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาอาชีพ การค้าขาย การลงทุนในพื้นที่ ด้านการเมือง ขยายผลการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งผลกระทบจากฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ ได้พัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการ เพื่อบูรณาการการทำงานของภาครัฐทุกระดับ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งมิติงานด้านความมั่นคง และมิติงานด้านการพัฒนา Research on “Achievement of the Implementation of Administration and Development Policy of the Thailand’s Southern Border Province, 2012-2014”, which aimed to study the achievement of the implementation of the administration and development policy of the southern border provinces, 2012-2014. The target area of study was the area that had encountered unrest according to government policies in 3 provinces, namely, Pattani, Yala, Narathiwat and 4 districts of Songkhla Province (Chana, Thepha, NaThawee and Saba Yoi). The research instruments were In-depth interviews and focus group discussions with key informants. Research results can be summarized as follows: The research found that the achievement of the implementation of administration and development policy of the Thailand’s southern border provinces, 2012-2014, to be implementing in 3 levels as follows; 1) The output level, the policy implementation achieved objectives, in the safety and normal happiness of people in the area had reduced violence. People trust the government sector and had more cooperation, including Thai society acknowledged and had a real understanding of the situation and realized the responsibility to solve problems together throughout creating an appropriate environment conducive to talking in seeking a way out of conflict and the process of building peace in the area. Ministry, Department and related agencies in implementation of policy, each was well cooperative and full of ability and supported resources to achieve the policy and people were satisfied with the implementation of the policy, the plan/ project for the development of quality of life for created a career with sufficient income, satisfied with officers in the security of life and property including helped, healed who those affected by the unrest and people were more secure; 2) the outcome level, could solve the problem of unrest especially the end of violence, the dead and injured in the area at the village, Tumbol, district and province level and still had a downward trend, but there were still gaps in the area of the responsible agencies therefore causing severe incidents in certain areas and occasions; and, 3) the level of social impact, create social change that leaded to the restoration of a multicultural society in the area, economic aspects, create changes in career development, trading, investment in the area, politics aspect, expand the participation of all sectors including the impact of political parties especially the government had changed frequently that affected the policy formulation, management aspect, had developed a management mechanism in order to integrate government work at all levels, in operating in the southern border provinces both the dimension of security and development dimension.

References

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี. (2557, 12 กันยายน). หน้า 4.

ดนัย มู่สา. (2551). การจัดทำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และการแปรไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง.

ณัฐพงศ์ ศิริชนะ. (2554). การแปลงนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาเฉพาะด้านการพัฒนาในมิติพลเรือน พ.ศ. 2545-2554. กรุงเทพฯ: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2551). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษานโยบาย มาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบและการพัฒนาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี. โครงการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552).

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (2557). รายงานการประเมินผลแผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. ยะลา: ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.).

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2545). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนา.

สภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2552). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยะลา การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. โดยมหาวิทยาลัยบูรพา (ศูนย์วิจัยนโยบายและการบริหาร วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ). (2554). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการวางระบบบริหารติดตามประเมินผลแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ชลบุรี: ศูนย์วิจัยนโยบายและการบริหาร วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2543).นโยบายสาธารณะ : แนวคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สภาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557. (2555). สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม (สชต.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Anderson, J. E. (1994). Public Policy-Making: An Introduction (2rd ed.). New York: Houghton Mifflin Company.

Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Proces : A Conceptual Framework. Administration and Society, 6(4), 445-488.

Downloads

Published

2023-01-05