องค์การแห่งการเรียนรู้ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

Learning Organization Effected to Provincial Administration Organization

Authors

  • ฐิติพงศ์ กัญจนาภรณ์

Keywords:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, การบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, Learning organization, Administration, Provincial administration organization

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ระดับองค์ประกอบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 10 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Structural Equation Modeling (SEM) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการปฏิบัติงานในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.61 โดยผลการปฏิบัติงานด้านความรู้สูงกว่าผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน 2) องค์ประกอบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.58 โดยสูงสุด คือ การให้อำนาจบุคคลตามวิสัยทัศน์ การสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการเรียนรู้ การสร้างระบบเก็บและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ สร้างสรรค์โอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการไต่ถามและการสนทนา การกระตุ้นให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจและเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 3) องค์ประกอบความองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานเชิงการเงินในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การส่งเสริมการไต่ถามและการ สนทนา (1.99) และการสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการเรียนรู้ (0.19) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อการปฏิบัติงานเชิงการเงินในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การสร้างระบบเก็บและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ (-1.77) และการให้อำนาจบุคคลตามวิสัยทัศน์ (-0.47) สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานเชิงความรู้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การให้อำนาจบุคคลตามวิสัยทัศน์ (0.39) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อการปฏิบัติงานเชิงความรู้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การสร้างสรรค์โอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (-0.26) งานวิจัยให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือ ควรส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนำเอาแนวทางการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  This research aimed to 1) studied performance level of Provincial Administrative Organization 2) studied learning organization’s confirmatory level of Provincial Administrative Organization and 3) studied learning organization’s confirmatory factors which effected to performances of Provincial Administrative Organization. This research used quantitative methodology which population are officers who worked in Provincial Administrative Organization, sample size is 400, Multi-stage Sampling, collected data by questionnaire and analyzed by descriptive statistics and Structural Equation Modeling (SEM) The results founded that 1) performance level of Provincial Administrative Organization in total is in high level (avg. = 3.61) which educational performance is higher than financial performance. 2) learning organization’s confirmatory level of Provincial Administrative Organization in total is in high level ( = 3.58) which the highest is “empowering people according to vision”, “creating strategic leadership for learning”, “creating a system to store and exchange learning”, “create continuous learning opportunities”, “promoting inquiries and conversations”, “stimulating collaboration and learning together as a team” and “linking the organization to the environment” respectively. 3) learning organization’s confirmatory factors which are positive effect to financial performances of Provincial Administrative Organization are “promoting inquiries and conversations” (1.99) and “creating strategic leadership for learning” (0.19). Factors which are negative effect to financial performances of Provincial Administrative Organization are “creating a system to store and exchange learning” (-1.77) and “empowering people according to vision” (-0.47). For factor which is positive effect to educational performances of Provincial Administrative Organization is “empowering people according to vision” (0.39) and factors which is negative effect to educational performances of Provincial Administrative Organization is “create continuous learning opportunities” (-0.26). This research provides important policy suggestion is should encourage the Provincial Administrative Organizations to adopt the learning organization guidelines as operational guidelines.

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

เฉลิมฤทธิ์ สาระกุล และสุรางค์ เทพศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การเรียนรู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดสำนักงานเขตสระบุรี. งานนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

เอกพล สุมานันทกุล, ภารดี อนันตนาวี, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และเรณา พงษ์เรืองพันธ์. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการบริหารการศึกษา, 6(1).

De Villiers, W. A. (2007). The Learning Organization: Validating a Measuring Instrument. Journal of Global Strategic Management, 1(1), 115-123.

Garvin, D. (1993). Building a learning organization. Harvard Business Review, 7(4), 78-91.

Garvin, D. A. et al. (1993). Is Yours a Learning Organization?. Harvard Business Review, 86(3), 109-116.

Marquardt, M. (1996). The global advantage: How world-class organizations improve performance through globalization. Huston, TX: Gulf Publishing.

Marsick, V., & Watkins, K. (2003). The learning organization: An integrative vision for HRD. Human Resource Development Quarterly, 3(4), 353-359.

Pedler, M., Burgoyne,J. and Boydell, T. (1997). The learning company: A strategy for sustainable development (2nded.). London: MacGraw - Hill.

Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Double day Currency.

Senge, P., et al. (1994). The Fifth Discipline Field Book Strategies and Tools for Building a Learning Organization. New York: Currency Doubleday.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Hair, et al. (1998). Multivariate Data Analysis with Readings. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: John Wiley and Sons, Inc.

Sorbon, D. (1996). LISREL 8: User’s Reference Guide. Scientific Software International.

Hussein, N., Mohamad, A., Noordin, F., & Ishak, N. A. (2014). Learning Organization and its Effect On Organizational Performance and Organizational Innovativeness: A Proposed Framework for Malaysian Public Institutions of Higher Education. Amsterdam, Netherlands: Elsevier Ltd.

Downloads

Published

2023-01-05