แนวทางการพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย
The development of Criteria Assesses Management the Standard Quality of the Muay Thai camps
Keywords:
เกณฑ์การประเมิน, การจัดการคุณภาพมาตรฐาน, ค่ายมวยไทย, Evaluation Criteria, The standard quality, Muay Thai campsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทยและพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research : EDFR) ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฏี และการสังเคราะห์เอกสาร จากนั้นนำประเด็นที่ได้สร้างเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เรื่ององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในการนำมาเป็นเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในประเด็นแนวทางการพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย (FS2PHE) ได้แก่ 1) ด้านการจัดการทางการเงิน มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ การวางแผนทางการเงินของค่ายมวย และการจัดการผลประโยชน์ของนักมวย 2)ด้านสถานที่อุปกรณ์และสิ่งอำนวย ความสะดวก มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ ลักษณะอาการและการสุขาภิบาล อุปกรณ์เฉพาะค่ายมวยและอุปกรณ์เสริม 3) ด้านความสามารถเชิงกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ การจัดทำ กลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ 4) ด้านการบริการมี 2 องค์ประกอบย่อย คือ บริการหลักสูตร และการให้บริการ 5)ด้านบุคลากรประจำค่ายมวยไทยมี 2 องค์ประกอบย่อย คือหัวหน้าค่าย/ผู้จัดการค่ายมวย และผู้ฝึกสอน/ ครูมวย 6)ด้านคุณธรรมจริยธรรม มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ ระดับค่ายมวยและระดับบุคคล 7) ด้านการยศาสตร์ มี 2 องค์ประกอบย่อยคือความพร้อมมาตรการฉุกเฉิน และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล This research aims to study the trends of the main components and sub-components of the standard quality management criteria of Muay Thai camps and development of criteria assesses management the standard quality of the Muay Thai camps. Using Ethnographic Delphi Futures Research techniques by applying document research technique and in-depth interview. This documentary research explored the related concepts and theories and then the issues that have created a questionnaire by interviewing 17 experts. Main elements and sub-elements of criteria assess management the standard quality of Muay Thai camp. The results showed that the trends of the main components and sub-components of the standard quality management criteria of Muay Thai camps Consist of 7 principle components and 15 subcomponents(FS2PHE); 1) Financial Management added was consisted of 2 subcomponents which were Financial Planning and Management of the benefits of boxers. 2) Facility Planning was consisted of 3 subcomponents including Characteristics of buildings and sanitation, specifically equipment in the boxing camp and accessory. 3) Strategic Capability and Leadership was consisted of 2 subcomponents including Strategic Planning and Bring the strategy into action. 4) Service quality was consisted of 2 subcomponents including Course Services and service. 5) People Management was consisted of 2 subcomponents including Camp leader or manager and Trainer. 6) Honesty and Integrity was consisted of 2 subcomponents including Organization level and Individual level.7) Ergonomics was consisted of 2 subcomponents including Readiness and emergency measures and First aid equipment.References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559). วันที่ค้น ข้อมูล 6 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.mots.go.th/download/ImplementationOfThePolicy/Notification Of TheNationalTourismPolicy.PDF
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2558). การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) วันที่ค้นข้อมูล 27 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.nesdb.go.th
เตชิตา ไชยอ่อน และธีรวัฒน์ จันทึก. (2015). ความคาดหวังของลูกค้าชาวต่างชาติที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของค่ายมวยไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพละศึกษา, 7(3).
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล และคมกริช เชาว์พานิช. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของค่ายมวยไทยสำหรับชาวต่างชาติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ธัญลักษณ์ หงษ์โต และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). เรื่องเล่าบนเส้นทางสังเวียนตัวตนคนชี้ขาด : กรณีศึกษากรรมการผู้ตัดสินกีฬามวยไทยอาชีพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 43(2), 113- 124.
ธัญลักษณ์ หงษ์โต และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของคุณลักษณะงาน ที่มีผลต่อความไว้วางใจในการบริหาร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 39- 53.
ธัญญ์ธวัล เหมทานนท์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2016). เรื่องเล่าของผู้ประกอบการค่ายมวยไทย ในตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559.
ธีระวัฒน์ จันทึก และเสรี ชัดแช้ม. (2557). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 6(1), 99-129.
ธีรวุฒิ ชูภักดี และวัฒนา ทรงนิสัย. (2560). ปัจจัยที่ใช้เพิ่มความปลอดภัยในงานก่อสร้างไฟฟ้าสายสีแดงเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2. เรื่องนวัตกรรมอาคาร 2560 : อาคารอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ณ อาคารสิรินธร ชั้น 5. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
แปลก พนาลิกุล .(2537). พลศึกษา PE101 มวยไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2554). นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองข้าม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 15(29).
พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.วิทยานิพนธ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000009790
พัชรินทร์ ยาพิมาย. (2542). สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของนักมวยไทย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง. (2522). พัฒนาการกีฬามวยไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพาพร โคตรทอง. (2554). แรงจูงใจในการเล่นกีฬามวยไทยของนักกีฬาสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
รัชนก มณีรัตน์. (2550). ทัศนะของนักท่องเที่ยวต่อการบบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวงและให้บริการ ณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน, วรรณา พิทักษ์ศานต์ และกานตินุช สถิรมนัส. (2554). ทิศทางการพัฒนาสถาบันการพลศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นในทศวรรษหน้าวารสารไทย. วารสารวิชาการ สถาบันการ พลศึกษา, 7(2), 151-163.
วาสนา ศรีอัครลาภ และจิราวรรณ คงคล้าย. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การแห่งยุคสารสนเทศ สู่องค์การยุคใหม่ในอนาคต. Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2).
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วิจิตรบุษบา มารมย์. (2545). การบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร : การจัดการพื้นที่/ สถานที่สำหรับสภาพแวดล้อมในอนาคต. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1, 231-233.
วินัย พูลศรี. (2555). มวยไทย : การจัดการมรดกภูมิปัญญาของชาติไทยสู่รูปแบบธุรกิจสากล. ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิสุทธิ์ ทิพยพงษ์. (2544). การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนากีฬามวยไทยเพื่อการอาชีพ. วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒินันท์ สังข์อ่อง. (2555). สุดยอดธุรกิจมวยไทยบนโลกออนไลน์. กรุงเทพฯ: บริษัททัฟฟ์ จำกัด.
ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการแข่งขันมวยไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558-2567). บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการกีฬา, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สนอง คูณมี. (2549). แรงจูงใจในการเป็นนักมวยไทยอาชีพของนักมวยไทยในเวทีมาตรฐาน. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2542). พระราชบัญญัติกีฬามวย 2542. วันที่ค้นข้อมูล 20 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.officemuay.or.th/content.aspx? section=rpolicy&inforid=37
สัญญา รัตนไพวงศ์ และธัญลักษณ์ หงษ์โต. (2560). เรียนรู้ตัวตน คนสังเวียน ผ่านทางเลือกแห่งทางรอด. วารสารกรมพลศึกษา, 12(5).
สารานุกรมไทย. (2561). ประโยชน์ของการยศาสตร์. สำหรับเยาวชนไทย โดยพระประราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. เล่มที่ 32 เรื่องที่ 7. วันที่ค้นข้อมูล 4 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=7&page=t32-7-infodetail03.html
สุภัทรา อินทร์คำ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : เปรียบเทียบระหว่างวี ฟิตเนส โซไซตี้ และฟิตเนส เฟิรส์ท. หลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
อนุวัฒน์ ถืออยู่. (2554). การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพค่ายมวยไทยในประเทศไทย. ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคม มากมีทรัพย์. (2557). จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(87).
อารีย์ นัยพินิจ, ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา SKRU ACADEMIC JOURNAL, 7(1), 1-12.
อาภาศิริ โกฏิสิงห์, เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ และคำนึง ทองเกตุ. (2561). การวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1).
Deepika & M. R. (2014). Management business finance. International Research Journal of Management Sciences & Technology, 5.
Grose, V. L. (1987). Managing Risk – Systematic Loss Prevention for Executives. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Guttmann, A. (1986). Sports spectators. New York: Columbia Univer- sity Press.
Kritikos, K., Pernici, B., Plebani, P., Cappiello, C., Comuzzi, M., Benrernou, S., Brandic, I., Kertesz, A.,
Parkin, M., and Carro, M. (2013). A survey on service quality description. ACM Comput. Surv, 46(1), Article 1, 58 pages.
Akinsanmi, O., & Nathaniel, F. (2012). The Role of sports in national development. Journal of Science and Science Education, 3(1), 1–6.
Myers, T. D., Balmer, N. J., Nevill, A. M., & Al-Nakeeb, Y. (2006). Evidence of Nationalistic Bias in Muaythai. Journal of Sports Science and Medicine. 5(CSSI), 21-27.