องค์ประกอบของประสิทธิผลการบริหารงานเพื่อแก้ไข บำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม

The Elements of Administrative Effectiveness to Rehabilitate the Children and Youth Who Commit Crimes in the Justice System

Authors

  • ธัญญธร อ่อนเฉวียง

Keywords:

ประสิทธิผลการบริหารงาน, บัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน, การกระทำความผิด, กระบวนการยุติธรรม, The administrative effectiveness, Rehabilitate the children and youth, Commit Crimes, Justice System

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของประสิทธิผลการบริหารงานเพื่อแก้ไข บำบัดฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม 2) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนขององค์ประกอบของประสิทธิผลการบริหารงานเพื่อแก้ไข บำบัดฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานเพื่อแก้ไข บำบัดฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed research methods) ในรูปแบบวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory sequential design) วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methods) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 239 คน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA ) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methods) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 10 คน เพื่อสัมภาษณ์และตรวจสอบแต่ละองค์ประกอบในประเด็นตามรูปแบบการประเมินผลของ Stufflebeam (1971) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานเพื่อแก้ไข บำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในกระบวน การยุติธรรม มี 8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) โครงสร้างองค์การ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) วัฒนธรรมองค์การ 4) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 5) การติดต่อสื่อสาร 6) การบริหารเชิงกลยุทธ์ 7) ความผูกพันต่อองค์การ 8) สภาพ แวดล้อมองค์การ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (ค่า X2 = 19.07, df = 15, X2/df = 1.27, p-value = 0.21, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, RMR = 0.01, RMSEA = 0.03 และ CN = 372.61) สอดคล้องกับหลักความถูกต้องและครอบคลุม ความมีประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ร้อยละ 80.00 ขึ้นไปในทุกประเด็น สำหรับสภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารงาน แนวทางแก้ไข พบว่ามีปัญหา 3 ด้านดังนี้ 1. ปัญหาด้านด้านบุคลากร แนวทางแก้ไขคือ ควรเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการในตำแหน่งนักจิตวิทยา ควรผลักดันให้มีวิธีหรือระบบการคัดเลือกผู้พิพากษาเข้าดำรงตำแหน่งในศาลเยาวชนและครอบครัว โดยคำนึงถึงความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เหมาะสม และควรมีคู่มือการปฏิบัติงานตลอดจนต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแนวคิดที่เหมาะสมให้กับผู้ปฏิบัติงาน 2. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือ แนวทางแก้ไขคือ ควรมีการตั้งงบประมาณเพิ่ม มากขึ้น ในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ควรต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน 3. ด้านประสานความร่วมมือ แนวทางแก้ไขคือ ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายประสาน ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น โรงเรียน วัด สถานปฏิบัติธรรม ชุมชนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้หรือแนวทางในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ต้องติดตามผลเด็กเยาวชนและผู้ปกครองหลังผ่านกระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูของศาลแล้ว ตลอดจนต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจกับครอบครัวหรือผู้ปกครอง และชุมชนที่เด็กและเยาวชนอาศัยอยู่  The purposes of this study were 1) To Study the elements of the effectiveness of the administration to correct, rehabilitate the children and youth who commit the crimes in the justice system 2) To check the compatibility of the elements of the effectiveness of the administration to correct, rehabilitate the children and youth who commit the crimes in the justice system 3) To study the problems, obstacles and finding the solutions to correct, rehabilitate the children and youth who commit the crimes in the justice system by using the mixed research methods in term of sequential design. The descriptive quantitative used a research questionnaire as a tool to collect the information from 235 person by cluster sampling. The data were analyzed by the exploratory factor analysis: EFA, confirmatory factor analysis: CFA. The qualitative research was performed by the interviewing using the key information follow the evaluation for each element of Stufflebeam from 10 person by purposive sampling. The result reveals there were 8 elements as follows 1) The organization’s structure 2) The information technology 3) The organization culture 4) The executive leadership 5) The communication 6) The strategic management 7) The organizational commitment 8) The organization environment that effect to the administration to correct, rehabilitate the children and youth who commit the crimes in the justice system which is a harmonious index by the empirical data statistical significance at the level 0.01 (X2 = 19.07, df = 15, X2/df = 1.27, p-value = 0.21, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, RMR = 0.01, RMSEA = 0.03 and CN = 372.61). This result correlate to the principle of accuracy and coverage usefulness, appropriateness and possibility of using 80.00 percent or more. In part of the problems and obstacle in the administrative management, solution were found 3 categories as follows; 1. Personnel problems, a psychologist workforce should be increased and promote to construct the solution to select the judge to taking the position in the juvenile and family court by the appropriated specific expertise and knowledge. Moreover, the standard operation process for the officer should be constructed. 2. Information and tool, the budget should be increased and the officer should be trained to use the rehabilitate the children and youth who commit the crimes information and technology. 3. Cooperation, the cooperation network between other institutions such as school, temple, and community and so on should be constructed to learn and practice to rehabilitate the children and youth who commit the crimes together with their parents including making an understanding between the children, parents and communities by using of the public relation.

References

จิรนิติ หะวานนท์. (2556). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (ภาคทั่วไป). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

พรไชย วงศ์เมธานุเคราะห์. (2551). แนวคิดการพัฒนาศาลเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. (2553, 22 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 12-73.

พิรุณ เรืองไพศาล. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคาทอลิกที่มีประสิทธิผล. ปรัชญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัจนาถ วังตาล. (2553). บทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัวกับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูจำเลยในคดีอาญา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

สมหมาย เทียนสมใจ. (2556). รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์:เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

เอมอร พลวัฒนกุล. (2557). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 9(2), 97-109.

Creswell, J. W. (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage publications.

Denhardt, J, V., & Denhardt, R. B. (2007). The New Public Service. New York: M.E. Sharpe, Inc.

Gibson, J. L. (2000). Organizations: Behavior Structure Process (10th ed.). Boston: McGraw - Hill.

Hair, et al. (2014). Multivariate data analysis: a global perspective (7th ed.). Upper Saddle River: Prentice-Hall.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1996). LISREL8: User’s Reference Guide. Chicago: Scientific Software International.

Steers, R. M. (1977). Organizationl Effectiveness: A Behavioral View. Santa Monica, Califonia: Good Year Publishing Company.

Stufflebeam, D. L. (1971). Educational Evaluation and Decision Making Itasca. Illinois: Peacock.

Downloads

Published

2023-01-05