พัฒนาการการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในสังคมไทย สู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของพนักงานสอบสวน

Development Mediation of Inquiry officials on Criminal Cases to Prevent Domestic Violence in Thailand

Authors

  • ศาสนพงษ์ วรภาพ

Keywords:

การไกล่เกลี่ย, ความรุนแรงในครอบครัว, พนักงานสอบสวน, Mediation, Domestic violence, Inquiry officials

Abstract

ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนนั้นนับเป็นหน้าด่านแรกในกระบวนการยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทางคดี จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน และที่สำคัญคือ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการหันเหคดีหรือไกล่เกลี่ยคดีบางประเภท โดยเฉพาะคดีความผิดอันเกิดจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากคดีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวจะส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว และเมื่อสถาบันครอบครัวมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบที่ขยายขอบเขตออกไปสู่สังคมโดยรวม ซึ่งปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวนั้นเป็นปัญหาที่สืบเนื่องยาวนานในสังคมไทยและนับวันยิ่ง ทวีความรุนแรงมากขึ้น สำหรับบทความวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นการศึกษาประวัติ ความเป็นมาของการปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยคดีอาญาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สภาพปัญหาและรูปแบบการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่พนักงานสอบสวนเคยได้รับแจ้งความร้องทุกข์ ตลอดจนหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีความรุนแรงในครอบครัวของพนักงานสอบสวนและวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารประเภทงานบทความวิจัย เอกสารทางวิชาการ ประกอบกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มประชากร ได้แก่ กลุ่มพนักงานสอบสวนผู้เคยได้รับการแจ้งความร้องทุกข์ในคดีความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 10 คน จากผลการศึกษาพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของการไกล่เกลี่ยในประเทศไทย แบ่งได้ 3 ยุค กล่าวคือ ยุคอดีต มักใช้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในชุมชนหรือหมู่บ้าน ผู้อาวุโส เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดีความต่าง ๆ ต่อมาในยุคกลางจารีตนครบาลเป็นผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย และยุคปัจจุบันจึงเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดี 2) รูปแบบการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่พนักงานสอบสวนเคยรับแจ้งความร้องทุกข์ ที่พบมากสุดคือ การใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สามีภรรยา รองลงมาคือผู้ปกครองทำร้ายบุตรหลาน และสุดท้ายคือ บุตรหลานทำร้ายผู้สูงอายุ 3) พนักงานสอบสวนทำหน้าที่เป็นคนกลางในกระบวนการไกล่เกลี่ย ประสานงานคู่กรณี และติดตามผลการไกล่เกลี่ย ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษานี้คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแก้ไขและพัฒนารูปแบบและกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีความรุนแรงในครอบครัวของพนักงานสอบสวน  Police or inquiry officials is deemed as the starting point of justice process; authorizing to maintain public order, inquiring and collecting relevant evidence, arresting an offender to be punished by law, rendering justice administration to public, and playing an important role in diversion or mediation of some cases; especially an offence arising from the domestic violence owing to having an impact on family relationships which leads to social problem. The domestic violence has been persisting and becoming more serious in Thai society. This qualitative research consisted of the following objectives: 1) to study the criminal case histories of mediation in Thailand heretofore. 2) to study domestic violence provisions and models which were filed the complaint to inquiry official. 3) to study the authority of inquiry official in domestic violence mediation process. 4) to study problems caused by this violence mediation process and their resolutions. The data were collected and content analyzed from research articles, academic documents, and in-depth interview with group namely; ten of inquiry officials who had been notified complaint about domestic violence. The study found as follows: 1) the criminal case histories of mediation in Thailand divided into three periods namely; the past period which there was a community or a village headman, or a respectable man acted as a mediator, the afterward past period which there was a torturing pursuant to the Trial by Ordeal acted as a mediator, and the present period which there was a police official as a mediator. 2) the most frequent model of domestic violence notified to inquiry official was marital violence, violence against children by their guardian, and elderly abuse committed by their child/children, respectively. 3) inquiry official was a conciliator coordinating with two parties and following up its mediation. Recommendation for the research was to construct a new body of knowledge about solutions and model development of mediation process on domestic violence of inquiry officials.

References

กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2554). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาชั้นสอบสวน. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ การไกล่เกลี่ย คดีอาญาชั้นสอบสวน (หน้า 3-4). ม.ป.ท.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2545). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการเยียวยารอยร้าว. ใน เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับคดีความรุนแรงใน ครอบครัว: ความเป็นไปได้ในการนำโครงการ “โรงซ่อมสามี” มาใช้ในสังคมไทย (หน้า 202). ม.ป.ท.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การคืน “อำนาจ” แก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.].

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2556). ระบบยุติธรรมและยุติธรรมทางเลือก แนวการวิเคราะห์เชิงสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550. (2550, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 41 ก. หน้า 1-2.

เรวัต ทองประกอบ. (2554). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานสอบสวนต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย มหาวิทยาลัยบูรพา, 3(1), 89.

ลิขิต เพชรสว่าง. (2545). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ. ม.ป.ท.

ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว และ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). แนวปฏิบัติในการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550. ใน เอกสารรายงานการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว (ทีมสหวิชาชีพใน กทม.) (หน้า 13). ม.ป.ท.

สาธิดา คมขำ. (2554). เจตคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมต่อปัญหาสามีทำร้ายภรรยา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย มหาวิทยาลัยบูรพา, 3(1), 146.

Antoun, R. (1972). Arab Village. Bloomington: Indiana University Press.

Awad M. (1994). Conversation with the author regarding Palestinian dispute resolution processes.Cyprus: Summer Inc.

Moore, C. W. (1999). Practical Strategies for Resolving Conflict. California: Jossey-Bass Inc.

Ihromi, T. (1988). Informal Methods of Dispute Settlement in Indonesia. In C.Pe.G. Sosmena and A. Tadiar (ads.), Transcultural Mediation in the Asia-Pacific Organization for Mediators. n.d.

Krapp T. (1992). Presentation at the First European Conference on Peacemaking and Conflict Resolution. Altaya, Turkey.

Macduff, I. (1998). Mediation in New Zealand : Legislating for Community. n.d.

Pe, C., & Tadiar, A. (1998). A Katarungang Pambarangay : Dynamics of Compulsory Conciliation. Quezon City. Publishers’s Printing Press.

Shourie, H. (1998). Mediation Sans Legislation : An Experiment in India. New Delhi.

Shourie, H. (1988). Mediation Sans Legislation : An Experiment in India, India”, In Pe, C.,Sosmena, G., and Tadiar, A. (ads.), Transcultural Mediation in the AsiaPacific. Manlia, Philippines: Asia-Pacific Organization for Mediators. n.d.

Wildau, M. and Mayer. (1993). Developing Democratic Decission - Making and Dispute Resolution Procedures Abroad. Conflict Resolution Quarterly, 10(3), 240-254.

Downloads

Published

2023-01-05