ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี กับอนาคตการศึกษาไทย

The 20-Year National Strategy and the Future of Thai Education

Authors

  • ดำรงค์ วัฒนา
  • กนกวรรณ รุ้งตาล

Keywords:

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี, การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21, โรงเรียนทางเลือก, The 20 - Year National Strategy, Human Resource Development, Learning Skills in the 21st Century, Alternative School

Abstract

บทความนี้นำเสนอประเด็นจากงานศึกษาเรื่อง “รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ชาติกับการบริหารจัดการของโรงเรียน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนทางเลือก 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเพลินพัฒนาและโรงเรียนดรุณสิกขาลัย กับโรงเรียนรูปแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์และโรงเรียนวิชูทิศ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงคนสู่ศตวรรษที่ 21 และการนำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีไปปฏิบัติ โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาทั้งยุทธศาสตร์ของโรงเรียน โครงการและกิจกรรมภายในโรงเรียน รวมถึงกระบวนการปฏิบัติงานของโรงเรียนทั้ง 7 หมวดตามกรอบเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสำรวจรายการ เพื่อพิจารณาความสอดคล้องในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนในภาพรวม พร้อมทั้งอาศัยการวิจัยเอกสารทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ไปสู่แผนระดับต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนรูปแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การศึกษาระดับประเทศมาสู่ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากในการทบทวนวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนมีการคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนระดับต่างๆ ยุทธศาสตร์การศึกษาระดับประเทศ รวมถึงนโยบายต่างๆ เพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของโรงเรียนต่อไป ขณะที่โรงเรียนทางเลือกไม่ได้ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์หรือแผนระดับประเทศมากนัก อย่างไรก็ดี แนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการของโรงเรียนทางเลือกมี ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หรือแผนระดับประเทศ เนื่องจากโรงเรียนเหล่านี้อาศัยการถอดบทเรียนจากองค์กรหรือประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาการศึกษาโดยตรง ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนทางเลือกจึงถือว่าเป็น “ผู้มาก่อนกาล” เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนนั้นได้คำนึงถึงสถานการณ์ แนวโน้ม บริบทและสภาพแวดล้อมของโลกโดยตรง ขณะที่การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีก็คำนึงถึงบริบทเดียวกัน จึงส่งผลให้ยุทธศาสตร์การบริหารของโรงเรียนทางเลือกมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รวมถึงแผนระดับต่างๆ ของประเทศไปโดยปริยาย กล่าวโดยสรุป โรงเรียนทางเลือกมีรูปแบบที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี มากกว่าโรงเรียนรูปแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการโดยเปรียบเทียบ เนื่องจากมีระบบการบริหารจัดการภายในโรงเรียนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี จากผลการศึกษาดังกล่าวนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ (1) การจัดการศึกษาของโรงเรียนรูปแบบเดิมของกระทรวง ศึกษาธิการที่คำนึงถึงเฉพาะยุทธศาสตร์หรือแผนระดับประเทศอาจไม่เพียงพอและไม่เท่าทัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสถานการณ์ แนวโน้ม บริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อให้การศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล (2) รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการควรมีการทบทวนนโยบายทางการศึกษาและทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับโรงเรียน เพื่อลดข้อจำกัดในการจัดการเรียนการสอน เช่น กระบวนการที่เป็นพิธีกรรมต่างๆ ตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางซึ่งอาจมีมากเกินความจำเป็น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการและในการพัฒนากระบวนการจัดเรียนการสอน (3) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีโรงเรียนทางเลือกมาจัดการการศึกษา มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งการลดภาระของภาครัฐ และได้ผลสัมฤทธิ์ที่ตอบสนองบริบทได้ดีขึ้น ทั้งนี้ รัฐต้องมีความชัดเจนของนโยบาย และจริงจังในการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนทางเลือก  This academic paper presents some issues from the study of “Proper School Model for 20-Year National Strategy” aims to study consistency between national strategy and school management by compare between alternative schools (Plearn Pattana School and Darunsikkhalai School for Innovative Learning) and ordinary schools (Kaen Thong Uppatham School and Wichutit School) for compare competency to respond to changing in the 21st century and implementing the 20-Year National Strategy. This study used qualitative methodology (In-depth Interview) to study school strategies, projects, and activities in the school. Including, school operating processes in seven categories according to the “Education Criteria for Performance Excellence” (EdPEx). In addition, this study used quantitative methodology (Checklist Questionnaire) to consider the consistency in the transfer of national education strategy to implementation at the school level. Besides, this study review related documents to study the transfer of the 20-Year National Strategy to plans at each level. The findings show that ordinary schools very concern about the transfer of national education strategy to school strategies. For example, from review visions and school strategies will found that visions and school strategies very concern about the 20 - Year National Strategy, plans at each level, national education strategy, including policies to define the visions and school strategies in the future. While alternative schools do not concern about national strategy and plan. However, the guidelines for teaching and learning management and school management of alternative schools are consistent with national strategies and plans because alternative schools take lesson learned from organizations and foreign countries that are successful in educational development. For this reason, alternative schools are “Pioneer” because teaching and learning management of alternative schools concern about situations, trends, contexts, and environments in the world. While formulating the 20 - Year National Strategy is concern with the same context. As a result, management strategies of alternative schools are consistent with the 20-Year National Strategy, including plans at each level. In summary, alternative schools have more proper model in response to the goal of the 20 - Year National Strategy than ordinary schools. Because alternative schools have management systems that consistent with the 20 - Year National Strategy. The policy recommendations from this study; First, educational management of ordinary schools need to concern about the situations, trends, contexts, and environments both inside and outside the country to ensure Thai education has high quality and international standards. Second, the government and the Ministry of Education should review educational policies and review the basic education core curriculum with the school. To reduce the limitations of teaching and learning, such as ritual processes, indicators that may be more than necessary. To increase flexibility in management and develop teaching and learning processes. Finally, should promote and support more alternative schools to manage education, which has benefit both to reduce the burden of the government, and achieved the expected result. The government must have clear policy and seriously promoting and supporting alternative schools.

References

วรเดช จันทรศร. (2548). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

จรีพร นาคสัมฤทธิ์. (2555). กระบวนการบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวการบริหารที่เน้นความเป็น มนุษย์และแนวคิดการศึกษามนุษยนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นริศรา จริยะพันธุ์. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบัน บัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

ปกรณ์พงษ์ อรรถบท. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด Balanced Scorecard และแนวคิด Hoshin Kanri. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พูลย์ชัย ยาวิราช. (2550). การพัฒนารูปแบบการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาณุพงศ์ ศรีสุริยชัย. (2555). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่เน้นความเป็นมนุษย์ในโรงเรียนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชระ จตุพร. (2559). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถของพลเมืองปัจเจกชนนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพล คัคโนภาส. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปกป้อง จันวิทย์และสุนทร ตันมันทอง. (2555). โรงเรียนทางเลือกกับทางเลือกในการศึกษาของประชาชน. วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://pokpong.org/academic-work/alternative- school/

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561). วันที่ค้นข้อมูล 10 เมษายน พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ. (2561). วันที่ค้นข้อมูล 14 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/024_3/1.PDF

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2562). วันที่ค้นข้อมูล 24 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/051/T_0001.PDF.

พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560. (2560). วันที่ค้นข้อมูล 15 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.ldd.go.th/www/files/81731.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). วันที่ค้นข้อมูล 10 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu1.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2543). วันที่ค้น ข้อมูล 10 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu2.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). วันที่ค้นข้อมูล 10 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu38.pdf

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). วันที่ค้นข้อมูล 15 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. (2560). วันที่ค้นข้อมูล 15 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf

โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. (ม.ป.ป.). ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. วันที่ค้นข้อมูล 5 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://e-school.kmutt.ac.th/

โรงเรียนเพลินพัฒนา. (ม.ป.ป.). โรงเรียนเพลินพัฒนา. วันที่ค้นข้อมูล 5 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.plearnpattana.ac.th/

วรโชค ไชยวงศ์. (2549). การบริหารนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น (Hoshin Kanri). วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก http://203.149.46.69/knowledge/showcontent.php?id=1956

สกล สุวรรณาพิสิทธิ์. (2555). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ?. วันที่ค้น ข้อมูล 13 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.qlf.or.th/Home/Contents/417

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2561). สถิติการศึกษา พ.ศ. 2561. วันที่ค้นข้อมูล 20 สิงหาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/bangkokeducation/page/sub/13193/%E0%B8%9E% E0%B8%A82561

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. วันที่ค้นข้อมูล 14 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ระดับของแผน. วันที่ค้นข้อมูล 14 เมษายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.nesdb.go.th/download/document/คู่มือแนวทางการเสนอแผนฯ.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561. วันที่ค้นข้อมูล 18 มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.edpex.org/2016/04/edpexcriteria58-61.html

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพสถานศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). บทสรุปผู้บริหารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://aqa.onesqa.or.th/SummaryReport.aspx

พงศักดิ์ เพียรพานิชย์. (2549). การบริหารนโยบาย (Hoshin Kanri). วารสาร Management Best Practices, 6 6(30), 29-37.

โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์. (ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตร์การบริหารของโรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564-2564. กรุงเทพฯ: โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์.

โรงเรียนวิชูทิศ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนวิชูทิศ พ.ศ. 2560 – 2563. กรุงเทพฯ: โรงเรียนวิชูทิศ.

Downloads

Published

2023-01-06