การใช้ข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชีในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC)

The Use of Accounting Data by Accountants in the Eastern Special Development Zone, EEC

Authors

  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

ข้อมูลทางบัญชี, นักบัญชี, เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, Accounting data, Accountants, EEC

Abstract

การวิจัยเรื่องการใช้ข้อมูลทางบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของนักบัญชีบริหารกับการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารและความสามารถในการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารของนักบัญชีในเขตพัฒนาพิเศษภาค (EEC) การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโรยามาเน่ ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 395 คน เป็นนักบัญชี ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาว่าเป็นนักบัญชี 6 คน พบว่า 1) งานในหน้าที่ของนักบัญชีบริหาร ทั้ง 5 งาน มีระดับการจัดทำเฉลี่ยทุกรายการในระดับ 2.61 (ระดับปานกลาง) 2) ความสามารถในการจัดทำเฉลี่ยทุกรายการ 2.58 (ระดับน้อย) และ 3) หากนักบัญชีพัฒนา การจัดทำข้อมูลทางบัญชีบริหารโดยพัฒนาการวิเคราะห์งบการเงินสูงสุด 1 หน่วย จะทำให้ความสามารถในการจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารเพิ่มขึ้นสูงสุด 0.343 หน่วย มากกว่าการจัดทำข้อมูลด้านอื่น ๆ  The research on “The Use of Accounting data by Accountants in the Eastern Special Development Zone, EEC, had three objectives: 1) To study the level of preparation of managerial accounting information of accountants in the Eastern Special Development Zone (EEC) 2) To study the level of competence in the preparation of managerial accounting information of accountants in the Eastern Special Development Zone (EEC) and 3) To study the relationship between general information of executive accountants and the preparation of managerial accounting information and the capacity of accounting information management of accountants in the Special Development Region (EEC). The research was quantitative research and the sample size was calculated with the Taro Yamane sample with the error of 0.05. The sample group consisted of 395 accountants In the Special Economic Zone (EEC), and 6 accounting experts from the Accounting Council were interviewed. Following were the results of the study: 1) The average level of the executive accountants’ preparation of managerial accountant in all items of 5 job duties was 2.61 (medium level) 2) The average level of executive accountants’ competence on preparing all items of management accountant was 2.58 (low level) and 3) If an accountant developed the preparation of managerial accounting information only the maximum of 1 unit of financial statement analysis, this would increase the competence of the managerial account information to a maximum of 0.343 units, and this was much more than any other information preparation.

References

กมลภู สันทะจักร์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัล ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 17-31.

กรณิศา ดิษฐ์เสถียร. (2562). คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 1(1), 32-42.

กรมศุลกากร. (2555). มูลค่าการส่งออก-นำเข้าและอัตราการขยายตัวของ SMEs ปี พ.ศ. 2545-2555 กรุงเทพฯ: กรมศุลกากร.

กระทรวงการคลัง. (2562). มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว และลภัสรดา พิชญาธีรนาถ. (2561). จรรยาบรรณวิชาชีพนักบัญชีบริหารกับการนำเสนอข้อมูล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(2), 197-212.

ทิพาพร ขวัญมา, ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา และอิงอร นวชัยฤทธิ์. (2556). ผลกระทบของคุณภาพข้อมูลทางบัญชีบริหารที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(4), 103-113.

พรนภา ธีระกุล. (2545). การใช้ข้อมูลบัญชีบริการเพื่อการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บรรพต วิรุณราช. (2563). ศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12(1), 191-209.

ประภาพร เจริญวงษ์ตระกูล. (2548). การศึกษาทัศนคติของพนักงานเพื่อการปรับปรุงระบบการ. จัดการความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนูญชัย ธีระอกนิษฐ์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธิสทิธิ์ พูลดี. (2550). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

สารทูล บัวขาว. (2549). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ประเภทการผลิตสินค้า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วิทยายานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา, พิทูร กาญจนพันธ์, สุขเกษม ลางคุลเสน, ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ และอนุรักษ์ อาทิตย์กวิน. (2555). ความสำเร็จของการปฏิบัติทางบัญชีบริหารและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเซรามิกในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(1), 1-11.

สุมาลี รามนัฏ และสุภัตรา วันต๊ะ. (2562). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้สมการเชิงโครงสร้าง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 103-122.

หยาดพิรุฬ สิงหาด และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 373-383.

Gordon, L., & Miller, D. (1976). A contingency framework for the design of accounting information systems. Accounting, Organizations and Society, 1(1), 59-69.

Downloads

Published

2023-01-06