ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับประเทศไทย 4.0

Proposed Policy for Vocational Manpower Development to Support Thailand 4.0

Authors

  • ศิวกรณ์ เอ่งฉ้วน
  • พิทักษ์ สุพรรโณภาพ
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม

Keywords:

อาชีวศึกษา, ประเทศไทย 4.0, การพัฒนากำลังคน, Vocational, Thailand 4.0, Manpower Development

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนากำลังอาชีวศึกษาเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนากำลังอาชีวศึกษาเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0 3) สังเคราะห์องค์ความรู้ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0 และ 4) จัดทำรายงานข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0 วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เป็นการใช้เทคนิคการศึกษาอนาคตภาพด้วยวิธีการ EDFR การสังเคราะห์ SWOT Analysis และการวิเคราะห์ TOWS Matrix และนำมาจัดทำนโยบายสำหรับการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0 จากผลการศึกษาพบว่า มีนโยบาย 5 ด้าน 14 ยุทธศาสตร์ 65 กลยุทธ์ ดังนี้ นโยบายที่ 1 ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา มุ่งสู่คุณภาพมาตรฐาน รองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 12 กลยุทธ์ นโยบายที่ 2 ผลักดันและให้ความสำคัญกับบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีความพร้อมในการพัฒนากำลังคนอาชีวะ รองรับประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 12 กลยุทธ์ นโยบายที่ 3 พัฒนาสถานศึกษาและรูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ รองรับประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์ นโยบายที่ 4 การบริหารจัดการการอาชีวศึกษา มุ่งสู่การดำเนินงานที่เป็นเลิศ สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 16 กลยุทธ์ และนโยบายที่ 5 ผลักดันการอาชีวศึกษาให้มีเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาที่เข้มแข็ง สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ 10 กลยุทธ์  The purpose of this research was to 1) study the knowledge relating to the development of vocational education to support Thailand 4.0 2) Study guidelines for vocational education development to support Thailand 4.0 3) Synthesize knowledge in making policy proposals for the development of vocational manpower to support Thailand 4.0 And 4) make a report on policy proposals for the development of vocational manpower to support Thailand 4.0 The study method is an integrated research. The study of policy proposals for vocational personnel development to support Thailand 4.0 is the future study using EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research). Synthesis of SWOT Analysis Tools and TOWS Matrix Analysis to find the relationship between internal and external factors and create policies for the development of vocational manpower to support Thailand 4.0 From the study, it is found that there are 5 policies on manpower development strategies, 14 strategies, 65 strategies as follows Policy 1: Production and development of vocational personnel toward standard quality to support the changing situation consisting of 3 strategies and 12 strategies. Policy 2: Pushing and giving importance to vocational personnel to be ready for the development of vocational manpower Supporting Thailand 4.0 consisting of 3 strategies, 12 strategies. Policy 3: Develop educational institutions and modern teaching and learning styles Supporting Thailand 4.0 consisting of 3 strategies, 15 strategies. Policy 4: Vocational education management Aim for excellent operations Consistent with Thailand 4.0 consisting of 3 strategies, 16 strategies and Policy 5: Pushing vocational education to have a strong educational cooperation network consistent with Thailand 4.0 consisting of 2 strategies, 10 strategies.

References

กลุ่มยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). การศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้ วางแผนการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ส.ค.ส.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ส.ค.ส.

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21: มิติด้านการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 5(3), 392 - 401.

นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ. (2561). การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูอาชีวศึกษาให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2852-2872.

พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเวก ปางพุฒิพงศ์. (2525). อาชีวศึกษา...ทางที่มองเห็น. วารสารอาชีวศึกษา, 2(33).

แววตา พูลสวัสดิ์ และคณะ. (2561). การบริหารจัดการการอาชีวศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันยุคการศึกษาไทย 4.0 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีซีเทคแปซิฟิค. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลย อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 8 - 16.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อนุชัย รามวรังกูร และนลินรัตน์ รักกุศล. (2557). การพัฒนารูปแบบการเทียบโอนมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 9(2), 85-96.

Thienput, D. (2000). Human Resource in the 21st Century (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Downloads

Published

2023-01-09