แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย
An Approaching of Social Welfare of the Church of Jesus Christ of Latter Day Sains
Keywords:
แนวทางการจัดสวัสดิการสังคม, ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์, Social welfare of the church, Jesus christ of latter day sainsAbstract
การจัดสวัสดิการสังคมโดยศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย พบว่า หลักการสำคัญในการดำเนินงานสวัสดิการโดยศาสนจักร คือ การทำให้สมาชิกมีความรักกันมากขึ้น ดูแลกันมากขึ้น ซึ่งเกิดจากแก่นคำสอนของศาสนา ความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า และการมาร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักร หลักการสำคัญของการดำเนินงานสวัสดิการใช้หลักให้ผู้ที่จะรับความช่วยเหลือได้พิจารณาตนเองว่าสามารถพึ่งตนเองได้เพียงใด ศาสนจักรมีโครงการสวัสดิการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาการทำงาน แต่ต้องเริ่มจากความพยายามของบุคคลนั้นๆ งานสวัสดิการของศาสนจักรจะช่วยเพื่อนมนุษย์ใน 2 ทาง คือ ทางจิตวิญญาณ และทางโลกทางด้านจิตวิญญาณ คือ การที่ศาสนาจักรจะสอนให้พึ่งพาตนเองสอนการควบคุมอารมณ์ความคิด ให้มีความรักต่อพระเจ้าเพื่อให้ส่งต่อความรักไปยังเพื่อนร่วมโลก ศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์วิสิทธิชนยุคสุดท้ายจะสอนเรื่องของความรัก การให้อภัยว่าเป็นเรื่องสำคัญ สอนให้คนเข้าใจถึง 2 ข้อใหญ่ คือ รักพระ ผู้เป็นเจ้าก่อนและรักเพื่อนบ้าน คำว่าเพื่อนบ้านเริ่มจากคนในครอบครัว สอนให้เรียนรู้ในการบริหารจัดการอารมณ์ของตนเอง ให้เข้าใจชีวิต สามารถวางแผนของความรอด ส่วนทางโลกนั้น คือการให้ความช่วยเหลือที่จับต้องได้ เช่น การบริจาคทรัพย์ อาหาร เครื่องใช้จำเป็น การให้ทุนการศึกษา การสอนงาน รูปแบบการจัดสวัสดิการและการมีส่วนร่วมของศาสนจักรในการจัดสวัสดิการสังคม พบว่า การดำเนินงานสวัสดิการของศาสนจักรมีขั้นตอนการดำเนินงาน มีการแบ่งประเภทของสวัสดิการให้ความช่วยเหลือ มีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่ชัดเจน โดยระบุผู้รับผิดชอบ ลักษณะของกิจกรรม และเมื่อเสร็จงานก็จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานมาจากความร่วมมือของสมาชิกศาสนจักรซึ่งเข้ามาทำงานด้วยความศรัทธา บางโครงการผู้ปฏิบัติงานไม่มีค่าตอบแทน เงินที่ใช้ทำกิจกรรมจะได้จากการเสียสละของสมาชิกศาสนจักร ผู้มีรายได้มีฐานะจะแบ่งปัน เรียกว่า “การปันส่วนสิบ” คือการนำเงิน 10% จากเงินยอดรายได้ที่หามาได้ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน หรือแต่ละปีของตนนำมาบริจาค 10% ของรายได้ โดยมีความเชื่อว่า เงินทั้ง 100% นั้นพระผู้เป็นเจ้าประทานให้เรา ดังนั้น เราจึงคืน 10% ให้กับพระองค์ Providing social welfare by the Church of Jesus Christ of Latter-day Saints found that an important principle in carrying out welfare services by the Church is to increase members' love. Take care of each other more caused by the core teachings of religion faith in god and coming together to carry out Church activities. The key principles of welfare proceedings apply the principles for people who will be helped to determine how well they can be self-reliant. The Church has welfare programs to improve the quality of life, education, and work, but must begin with the efforts of that individual. The welfare work of the Church helps fellowmen in two ways: spiritual and secular. Spirituality is that the Church teaches to be self-reliant, to teach control of emotions. To have love for God in order to pass it on to your world mates. The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints will teach about love. Forgiveness is important to teach people the two main points: love God first and love your neighbor. The word "neighbor" starts with family members. Teaches to learn to manage one's emotions, to understand life can plan of salvation. As for the secular to is to provide tangible assistance such as donations of food, necessities funding for education, coaching, etc. The pattern of welfare and participation of the Church in the provision of social welfare found that the Church's welfare operations have procedures. There are an assortment of welfare assistance. There is a clear operational structure. By specifying the responsible person, Activity and when the work is finished, The performance will be evaluated. For personnel, the work comes from the cooperation of Church members who come to work in faith. In some projects, workers do not have compensation. The money spent on the activities will come from the sacrifice of the members of the Church. Income people are entitled to share the so-called "ration ten", which is to bring 10% of the amount of income that can be obtained each day, week, month or each year to donate 10% of the income by believe that all 100% of the money is given to us by God, so we return 10% to him.References
กรองทอง กาญจนเลิศพรทวี. (ม.ป.ป.). งานสังคมสงเคราะห์ของศาสนาคริสต์คาทอลิก กรณีศึกษาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ (บ้านพักเบธานี). ม.ป.ท.
การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. 25 สิงหาคม 2562. สัมภาษณ์.
บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์. (2553). อยู่กับปวงประชา. กรุงเทพฯ: แผนกยุติธรรมและสันติ.ประธานสาธิต. 18 เมษายน 2562. สัมภาษณ์.
พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2545). สวัสดิการชุมชน แก้จนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
วิสา ตั้งนทีทวีผล. (2560). รายงานการเงินฐานรากไตรมาสที่ 3 ปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.
สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม. (ม.ป.ป.). ตอนที่ 2: องค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 12 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.thaicivilsociety.com/?p=content&id_content=250
สมนึก ปัญญาสิงห์. (2532). การพัฒนาชุมชน = Community development. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสรี พงศ์พิศ, คมสัน หุตะแพทย์, และรุ่งโรจน์ ตั้งสุรกิจ (บ.ก.). (2528). คำสอนเพื่อสังคม: สมณสาระสำคัญของศาสนจักรคาทอลิกเกี่ยวกับการพัฒนาและสันติภาพ. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
Davies, T. R. (2013). NGOs: A new history of transnational civil society. London: Hurst & Company.
Ferris, E. (2005). Faith-based and secular humanitarian organizations. International Review of the Red Cross, 87(858), 311-325.
Hoffstaedter, G., & Tittensor, D. (2013). Religion and development: Prospects and pitfalls of faith-based organizations. In M. Clarke (Ed.), Handbook of research on development and religion. Cheltenham, U.K: Edward Elgar.
Hood, C. (1991). A public management for all seasons?. Public Administration, 69(1), 3-19.
Reid, P.N. (1998). Social welfare history” In encyclopedia of social work. Washington: Pc. National Association of Social Workers.
Turner, J. (1974). Development and administration: Operational implications for social welfare. New York: United States Committee, International Council on Social Affair.