แนวทางการจัดการการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว

Education Management for Higher Education Institute Guideline in Sakaeo Province

Authors

  • ภัทรภร ธรรมมะ

Keywords:

การจัดการการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา, Sakaeo Province, Education Management guideline, Higher Education Institute

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์ในปัจจุบันของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ภายใต้นโยบายการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับพื้นที่จังหวัดสระแก้ว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม( Mixed Method) ด้วยการรวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 3) ผู้บริหารสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ที่เก็บข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารจากหน่วยงานราชการ เอกสารทางวิชาการ บทความ และประกาศ วิเคราะห์ข้อมูลแบบบรรยายและพรรณนา (Descriptive Research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาวการณ์ในปัจจุบันของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว มีจัดการศึกษาตามหลักการพัฒนาประเทศที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยมุ่งพัฒนาคน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศที่สำคัญ รวมทั้งการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มพูนขีดความสามารถทางวิชาการความสามารถทางเทคโนโลยีในระดับสูง 2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว เป็นรูปแบบการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษามีการบริหารงานภายในระบบมี ระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับชัดเจน การบริหารงานเน้นการมีส่วนร่วม มีกระบวนการหารือในรูปคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนจากคณะหรือหน่วยงานต่างๆ การตัดสินใจเน้นประชามติ และการยอมรับของคณะกรรมการ ในส่วนของรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้นมีความมุ่งหมายและหลักการในการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้เรียนมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคนให้มีความสมบูรณ์อย่างรอบด้าน 2) ด้านสังคมมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อสร้างให้สังคมของเขต บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว” ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ 3) กระบวนการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้มุ่งเน้นให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 3. แนวทางการบริหารจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้วภายใต้นโยบาย การพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับพื้นที่จังหวัดสระแก้ว คือ 1) สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระแก้วควรปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ในมหาวิทยาลัยให้มีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ พร้อมทั้งมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) การจัดการศึกษาควรเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อรองรับนิสิตนักศึกษาที่จบปริญญาตรีที่มีความต้องการที่จะศึกษาเพิ่มเติม และเพื่อให้บุคคลที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ได้มีโอกาสในการศึกษาเพื่อต่อยอดคุณวุฒิตามวัยวุฒิเพื่อตอบสนองความต้องการตามสายงานที่เชี่ยวชาญในอาชีพของแต่ละบุคคล 3) แนวทาง การจัดการศึกษาที่ภายใต้นโยบายการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับพื้นที่จังหวัดสระแก้วนั้นจะต้องมีทิศทางที่ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน รักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) แนวทางการจัดการศึกษาที่สนับสนุนส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงอารยธรรมโบราณและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิน 5) แนวทางการจัดการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนักนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ ตามที่จังหวัดสระแก้วได้กำหนด เป้าประสงค์ไว้ว่า เป็นจังหวัดสระแก้วเป็นเมืองแห่งความสุข ประชาชนเป็นคนดี มีสุขภาพดี รายได้ดี สิ่งแวดล้อมดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างบรรยากาศการค้า การลงทุน และการประกอบกิจการในเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว  The objectives of this research are to 1) study the situation of the higher education institute in Sakaeo Province, 2) study the education management of higher education institute in Sakaeo province, and 3) create the education management for higher education institute guideline in Sakaeo province. This research are used both the qualitative methods, in –depth interview and the documentary research. This research used descriptive statistics analysis and content analysis for processing of qualitative method. The results show that 1) The the situation of the higher education institute in Sakaeo province are, in line with the 12Th National Economic and Social Development Plan and Sufficiency Economy Philosophy, sustainable development principle. The development focus humans are the center of development, creating the new body of knowledge to enhance the ability of high technology. 2)The education management of higher education institute in Sakaeo province are under the rule and regulation, the management system is focus on the participative management, using the process of considering the consensus of the committee and the agent decision making under the public hearing and the committee accepted. The education management model for the special economic zones are the specific purpose and the principle focus on, 1)human resource development oriented ,completed all dimension, 2) create the special economic zones toward the learning society oriented, 3) focus on learning process and the content are response to the special economic zones . 3) The education management for higher education institute guideline in Sakaeo province are 1) the landscape and the environment of higher education institute in Sakaeo province are improved in order to facilitate the learning , and learning atmosphere, 2) create the education ,curriculum in master degree and doctoral degree in order to support and give the opportunity to the graduate students and the interested person for career development, 3) the learning process in line with the policy of the development of Sakaeo province’s direction, such as cultural conservation ,community and love of learning, self-developed in the lifelong, 4) education management support the ecological tourism, diversity in biological and historical learning area which related to the civilization, art and cultural ,local wisdom conservation, 5) generate the graduates towards the innovator ,thinking entrepreneur ,modern farmer ,healthy, good income and quality of life for trade and investment atmosphere for the special economic zones under Sakaeo province ‘s policy.

References

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2559). การศึกษากับยาพิษแอบแฝง. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 2(1), 12-23.

วันชัย ศิริชนะ. (2540). การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา. อนุสารอุดมศึกษามหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 23(226).

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

Downloads

Published

2023-01-09