การปรับใช้หลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ ไปสู่หลักความเสมอภาคของบุคคลในการรับภาระของรัฐโดยศาลปกครองไทย
Implementation of the Principle of Equality Provided in the Constitution by Thai Administrative Court Leading to the Application of the Principle of Equality in Bearing Public Burdens
Keywords:
หลักความเสมอภาค, การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม, หลักกฎหมายทั่วไป, Principle of Equality, Unfair Discrimination, General Principle of LawAbstract
ความเสมอภาค (Principle of Equality) จัดเป็นหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในประเทศไทยนั้นหลักดังกล่าวได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะต้องได้รับการปฏิบัติโดย “เท่าเทียมกันตามกฎหมาย” ดังนั้น ตามหลักความเสมอภาค ในสถานการณ์ที่เหมือนกันจึงต้องปฏิบัติด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน แต่ถ้ามีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ย่อมถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จากการวิเคราะห์ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาค จะเห็นได้ว่า ศาลยังได้อ้างอิงหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญอันนำไปสู่หลักความเสมอภาคของบุคคลในการรับภาระของรัฐมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น Principle of Equality, the important principle to protect rights and liberties of the people, is considered as a general principle of law. This principle is regulated in the Constitution of Thailand and guarantees rights and liberties of the people which shall be treated “equality by the law”. According to this principle, person in the same situation or status should be respected equally by state, otherwise, shall be considered as the unfair discrimination. This study analyzes how the Supreme Administrative Court render judgments under the Principle of Equality. The Implementation of this principle by Thai Administrative Court leads to the application of the principle of equality in bearing public burdens in order to ensure justice to aggrieved persons.References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2545). หลักแห่งความเสมอภาคตามกฎหมายฝรั่งเศส. ใน รวมบทความกฎหมายมหาชนจากเว็บไซต์ www. pub-law.net. นันทวัฒน์ บรมานันท์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2561). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2548). คำแปลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ. 1958. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2543). สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เรื่องหลักความเสมอภาค. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
ฤทัย หงส์สิริ. (2543). การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและมาตรการของรัฐที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เป็นธรรม. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 2(6), 19-36.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2543). หลักความเสมอภาค. วารสารนิติศาสตร์, 30(2), 160-183.
สำนักงานศาลปกครอง. (2552). สรุปหลักกฎหมายหลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง