องค์กรที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดปัจจัย 7 ประการของ McKinsey
Organization Efficiency Applying 7s McKinsey
Keywords:
องค์กร, ประสิทธิภาพ, แนวคิดปัจจัย 7 ประการของ McKinsey, Organization, Efficiency, Applying 7s McKinseyAbstract
ประสิทธิภาพ เป็นเรื่องของการใช้ปัจจัยและกระบวนการในการดำเนินงานโดยมีผลผลิตที่ได้รับเป็นตัวกำกับการแสดง ประสิทธิภาพของการดำเนินงานใดๆ อาจแสดงค่าของประสิทธิภาพในลักษณะ การเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับผลกำไรที่ได้รับ ซึ่งถ้าผลกำไรมีสูงกว่าต้นทุนเท่าไรก็ยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพมากขึ้น ประสิทธิภาพอาจไม่แสดงเป็นค่าประสิทธิภาพเชิงตัวเลข แต่แสดงด้วยการบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลา ในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่าเกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การบังเกิดผลได้รวดเร็วตรงประเด็นและมีคุณภาพ การนำแนวคิดทางด้าน 7s McKinsey มาใช้ในการส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพองค์กรเป็นที่แพร่หลายและนิยมกันเป็นอย่างยิ่งในองค์กรปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ของธุรกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร Efficiency is a matter of taking factors and processes in an operation with the output being shown. Efficiency of any operation, the performance value may be expressed as a comparison between the investment expenditures and the profits received. Which, if the profit is higher than the cost, the greater the efficiency. Performance may not be expressed as a numerical performance value. Rather, it is shown by documenting the economical use of money, materials, manpower and operating time without unnecessary wasted. Including appropriate strategies or techniques and practices that can lead to quick, relevant and quality results. The implementation of the McKinsey 7s concept of promoting organizational efficiency is widely and popular among organizations today. This concept was first published in 1980 by Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips. The idea is to present that the effectiveness of a business organization arises from the relationship of seven factors of a business that are characterized as follows: strategy, structure, system, skills, staff, style, and shared values.References
ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2558). บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติตามแนวทางของ Active Learning. วันที่ค้นข้อมูล 15 เมษายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.itie.org
ประชา ตันเสนีย์. (2550). รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (มหาชน) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลลิดา บัวบุญ. (ม.ป.ป.). คุณสมบัติขององค์กรที่ดี. วันที่ค้นข้อมูล 15 เมษายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://nudeer.weebly.com
วัชรี ธุวธรรม และคณะ. (2523). ระบบพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู กระทรวง ศึกษาธิการ.
อภิสิทธ์ กฤษเจริญ. (2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อำนาจ วัดจินดา. (2558). ประเมินองค์การด้วย McKinsey 7S. วันที่ค้นข้อมูล 15 เมษายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.hrcenter.co.th/index.php?module=columns_detail&ColumnID=647