ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่

The Relationship Between Quality of Work Life and Organizational Commitment of the Agricultural Extension Officer in Chiangmai Provincial Agricultural Extension Office

Authors

  • ปาจรีย์ แน่นหนา
  • ปิยากร หวังมหาพร

Keywords:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, เกษตรตำบล, Quality of Work Life, Organizational Commitment, Agricultural Extension Officer

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และระดับความผูกพันต่อองค์การของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรตำบล หรือ ข้าราชการของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และมีหน้าที่รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า เกษตรตำบลมีคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เกษตรตำบลที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือน แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน และยังพบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานของเกษตรตำบลมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับสูง  This research aimed 1) to explore the quality of work life and the organizational commitment of the agricultural extension officer in Chiangmai provincial agricultural extension office 2) to compare their organizational commitment categorized by personal factors and 3) to find out the relationship between their quality of work life and their organizational commitment. This study was a quantitative research. The sample of 104 cases were drawn from the agricultural extension officer in Chiangmai provincial agricultural extension office. Data were collected by questionnaire and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA and Pearson Correlation Coefficient at the .05 level of significance. The findings indicated that there are the quality of work life and organizational commitment of the agricultural extension officer in Chiangmai provincial agricultural extension office at high level. The hypothesis testing revealed that gender, age, marital status, education level, job position, years’ experience and rate of salary of the agricultural extension officer caused no difference in organizational commitment. Moreover the relationship between their quality of work life and their organizational commitment was in the high level.

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562, 15 กรกฎาคม). ประกาศกรมส่งเสริมการเกษตร เรื่อง รับสมัครสอบ แข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ (ทั่วไป) และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ (จังหวัดชายแดนภาคใต้).

ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. (2559). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณิชชา จามรโชติปรีชา และจาตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2560). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี. วันที่ค้นข้อมูล 18 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.bba.ubru.ac.th/files/researchfiles/attachment-1592388808.pdf

นนทษิต ชุติญาณวัฒน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของสัตวแพทย์สถานพยาบาลสัตว์ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยธิดา วังศพ่าห์. (2560). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กร ส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรมระดับ 5 ดาวแห่งหนึ่ง ย่านเจริญนคร. ค้นคว้าอิสระธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พงศ์ภัค วิ่งเร็ว. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิศโสภา ทีฆาวงค์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พูนพงษ์ คูนา. (2561). คุณภาพชีวิตการทํางานและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

เพ็ญภัสสรณ์ พุ่มพฤกษ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทัไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2550). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการทำงานกระแสใหม่ของการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: แอร์บอร์นพรินต์.

อนวัช ลิ่มวรากร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐบาล 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน. สารนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรัญญา ออมสินสมบูรณ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารกรมแพทย์ทหารบก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนิวัตติ์ สุวรรณศิลป์. (2559). ผลกระทบของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบโลหะในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อมราพร แย้มขจร. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

อารียา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เอกลักษณ์ ชุมภูชัย. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในการดูแลของบริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (แมนพาวเวอร์ สาขาลำพูน). ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall Inc.

Certs, S.C. (1989). Principles of Modern Management. Boston: Allyn & Bacon.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (2001). Research in Education. A Conceptual Introduction (5thed.). Longman: Boston.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Risla, M. K. F., & Ithrees, A. G. I. M. (2018). The impact of quality of work life on organizational commitment with special reference to department of community based corrections. Global Journal of Management and Business Research, 18(1), 21-29.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science, 22(1), 46–56.

Steers, R. M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior (3rd ed.). New York: McGraw - Hill.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 15(1), 11-21.

Downloads

Published

2023-01-23